Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
/ บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต 11
เป็นไปได้หรือไม่ ก่อนที่จะส่งเข้าสู่ช่วงการผลิตจริง การวางแผนกําลังการผลิตในขั้นตอนนี้จะพิจารณา
ในรายละเอียดมากขึ้นกว่าการวางแผนกําลังการผลิตขั้นต้น โดยจะพิจารณาเครื่องจักรทุกเครื่องที่วัสดุที่
ระบุไว้ในแผนต้องไหลผ่าน
การควบคุมกิจกรรมการผลิต ( Production Activity Control)
การควบคุมกิจกรรมการผลิต เป็นขั้นตอนที่เชื่อมต่อระหว่างกิจกรรมด้านการวางแผนการผลิต
และ กิจกรรมด้านการปฏิบัติงานผลิตจริงในโรงงาน ซึ่งภายหลังจากรับข้อมูลใบสั่งผลิตชิ้นส่วนต่างๆ
จากระบบ MRP แล้ว ในส่วนที่ต้องดําเนินการต่อไป ของระบบการควบคุมกิจกรรมการผลิตในโรงงาน
ประกอบด้วยหน้าที่หลัก ดังนี้คือ การกําหนดตารางการผลิต (Production Scheduling) การส่งงานเข้าสู่
ช่วงการผลิต (Dispatching) และ การติดตามความก้าวหน้าและการเร่งงาน (Expedition) นอกจากหน้าที่
ดังกล่าว แล้ว การควบคุมกิจกรรมการผลิตในโรงงาน ยังครอบ คลุมถึงการติดตามสถานะของกิจกรรม
การผลิตและใบสั่งผลิตในโรงงาน และจัดทํารายงานสถานะเหล่านั้นเสนอให้กับผู้บริหาร เพื่อ
ดําเนินการสั่งการให้การผลิต ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สําหรับในส่วนของหน้าที่ การกําหนดตารางการผลิต การส่งงานเข้าสู่ช่วงการผลิต และการ
ติดตามความก้าวหน้าและการเร่งงาน พอสรุปรายละเอียดของแต่ละหน้าที่ และ ความสัมพันธ์ของ
หน้าที่เหล่านี้โดยสังเขป ดังนี้
การกําหนดรายละเอียดตารางการผลิต (Production Scheduling)
ในการกําหนดตารางการผลิต จะต้องอาศัยข้อมูลจากการวางแผนความต้องการวัสดุ การ
จัดตารางการผลิตจะเกี่ยวข้องกับการกําหนดวันเริ่มงาน และวันกําหนดเสร็จของกระบวนการผลิตชิ้น
ส่วนต่าง ๆ ในโรงงาน การจัดตารางการผลิตในโรงงานค่อนข้างจะมีความยุ่งยาก ทั้งนี้เพราะประการ
แรก จํานวนชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วน และจํานวนใบสั่งผลิตที่จะต้องนํามากําหนดตารางการผลิตมีมาก
มาย อาจจะนับได้จํานวนพัน ประการที่สอง ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมีกระบวนการผลิตของตัวเองที่แตก
ต่างกัน ชิ้นส่วนบางชิ้น อาจจะต้องผ่านขั้นตอนการผลิตของเครื่องจักร 12 ขั้นตอน ประการที่สาม
จํานวนเครื่องจักรในโรงงานมีจํากัด และมีความแตกต่างกัน แต่ละเครื่องจักรใช้ในการทํางานที่แตก
ต่างกัน และเหมาะกับลักษณะงานที่แตกต่างกัน อีกทั้งความสามารถก็แตกต่างกันด้วย จํานวนงาน
ทั้งหมดที่ต้องผ่านกระบวนการผลิต ตลอดทั้งโรงงานมักจะมีจํานวนเกินกว่ากําลังการผลิตของเครื่อง
จักรที่มีอยู่ ดังนั้นเครื่องจักรหรือหน่วยผลิตแต่ละหน่วยจะมีคิว (Queue) ของงานรอคอยกระบวน การ