Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        42






                     เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครมาติดของโครโมโซม-เอกซทั้งสองของแมลงหวี่ที่เปนตัวแม ทํา

                     ใหไดเซลลสืบพันธุที่มีการจัดเรียงตัวของยีนใหม (recombinant type) ถาไมมีการแลกเปลี่ยนชิ้นสวน

                     โครมาติดของโครโมโซมเอกซทั้งสอง ลูกชั่วที่ 1 ที่เปนตัวเมียจะแบงไดเปน 2 กลุมเทานั้น คือ กลุมที่
                     1 และ 2 ซึ่งเกิดจากเซลลสืบพันธุที่มีการจัดเรียงตัวของยีนแบบเดิม (parental type) Stern ไดทําการ

                     วิเคราะหทางพันธุศาสตรและเซลลวิทยาของลูกแมลงหวี่ที่เปนตัวเมียในชั่วที่หนึ่งจํานวน 364 ตัว และ

                     ไดผลสอดคลองกันวาลักษณะใหม ๆ ที่พบในลูกแมลงหวี่ตัวเมียเหลานี้เกิดจากการแลกเปลี่ยน

                     ชิ้นสวนโครโมโซม


                     4.5 การหาตําแหนงของยีนบนโครโมโซม


                               ในการหาตําแหนงของยีนกอนอื่นจะตองหาวายีนนั้นอยูบนโครโมโซมใด แลวจึงหาวา ยีน

                     นั้นอยูตรงตําแหนงใดบนโครโมโซม  สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมจํานวนมากการหาตําแหนงของยีนจะ
                     ยุงยากมาก  การหาตําแหนงของยีนบนโครโมโซมหรือยีนในกลุมยีน  (linkage group)  ทําไดหลายวิธี

                     เชน การหาตําแหนงของยีนโดยอาศัยสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมขาดหายไป 1 แทง (2n-1) หรือโมโนไซ

                     มิค (monosomic) หรือสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมเพิ่มขึ้นมา 1 แทง (2n + 1) หรือ ไตรโซมิค (trisomic)

                     การคนพบสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมขาดหายไปหนึ่งแทง หรือโมโนโซมิค (monosomic) และการจัดทํา
                     ชุดของสิ่งมีชีวิตที่เปนโมโนโซมิคจนครบทุกโครโมโซม  (monosomic series)  ชวยใหเราสามารถหา

                     ตําแหนงของยีนบนโครโมโซมหรือยีนในกลุมยีนได Clausen และ Goodspeed (1926) เปนคนแรกที่

                     รายงานพบตนโมโนโซมิคในยาสูบ (Nicotiana tabacum) ซึ่งมีจํานวนโครโมโซม 47 อัน (2n = 4x-1 =
                     47) โดยปกติยาสูบมีจํานวนโครโมโซม 48 อัน (2n = 4 x = 48) การหาตําแหนงของยีนโดยอาศัยโมโน

                     โซมิคจะไดอธิบายอยางละเอียดในบทที่ 19 อยางไรก็ตามวิธีการหาตําแหนงของยีนบนโครโมโซมที่มี

                     ผูนิยมใชมากที่สุด  คือ  การหาโดยอาศัยสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมเกินมาหนึ่งแทง  หรือไตรโซมิค

                     (trisomic) Blakeslee (1921) เปนคนแรกที่พบตนไตรโซมิคในตนลําโพง (Jimson weed) อัตราสวน
                     ของไตรโซมิคที่วิเคราะหไดจะเปนตัวบงบอกถึงตําแหนงของยีนวาอยูบนโครโมโซมใด     ซึ่ง

                     รายละเอียดจะอธิบายไวในบทที่  20  นอกจากนี้การหาตําแหนงของยีนบนโครโมโซมอาจทําไดโดย

                     อาศัยการเปลี่ยนแปลงในโครงสรางของโครโมโซมแบบตาง ๆ เชน deletion, duplication, inversion
                     และ translocation
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51