Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
39
รูปที่ 4.3 การเกิดครอสซิงโอเวอรตามสมมุติฐานเบลลิง (A) โครโมโซมคูเหมือนมาพันกันใน
ขณะเดียวกันก็มีการสรางโครโมเมียรขนานไปดวย (B) มีการสรางเสนใยเชื่อมตอระหวาง
โครโมเมียรแลว ชิ้นสวนโครมาติดที่มิใชพี่นองกันมาเชื่อมตอกันเปนโครมาติดใหม
4.3.3 สมมุติฐานกอปป ชอยส (copy-choice hypothesis) สมมุติฐานนี้เปนคูแขงที่สําคัญของ
สมมุติฐานเบลลิง Lederberg (1955) เปนผูเสนอสมมุติฐานกอปปชอยสจากการพบวา ครอสซิงโอ
เวอรสามารถเกิดขึ้นไดภายในยีน 1 ตัว สมมุติฐานนี้อธิบายวา กลไกการเกิดครอสซิงโอเวอรคลายคลึง
กับการสรางเสนสายดีเอ็นเอใหม โดยการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครโมโซมเกิดขึ้นในขณะที่มีการสราง
จําลองแบบโครมาติดเสนใหม คูโครโมโซมที่เปนแมแบบนั้นอยูแนบชิดกันมาก เอนไซมที่ทําหนาที่
ในการจําลองแบบโครมาติดจึงเลือกแมพิมพผิดไป เสนโครมาติดที่ไดใหมจึงกลายเปนลูกผสมที่มี
ชิ้นสวนโครโมโซมของทั้งพอและแมรวมอยูดวยกัน (รูปที่ 4.4)
รูปที่ 4.4 กลไกการเกิดครอสซิงโอเวอร (A) ตามสมมุติฐานการแตกหักและเชื่อมตอ (breakage-
reunion) ของทฤษฎีพารเชียล ไคแอสมาไทป (B) ตามสมมุติฐานกอปป ชอยส