Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        36






                                                            บทที่ 4

                                                 หนาที่ของโครโมโซมเซลลรางกาย

                                                     (Function of Autosome)



                     4.1 คํานํา


                               โครโมโซมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตที่ไมใชโครโมโซเพศ เราเรียกวาโครโมโซมเซลลรางกาย

                     (autosome) หลังจากที่เราทราบถึงโครงสรางทั้งภายนอกและภายในโครโมโซมแลว เราควรจะเรียนรู

                     ถึงหนาที่ของโครโมโซมดวย เนื่องจากโครงสรางและหนาที่มีความสัมพันธกันอยางใกลชิด ลักษณะ
                     ทางโครงสรางหลาย ๆ อยางจะเปนตัวบงบอกถึงหนาที่ของโครโมโซม เปนที่ทราบกันดีวาหนวย

                     พันธุกรรม (genetic unit) ของโครโมโซมก็คือ ยีน ซึ่งทําหนาที่ควบคุมลักษณะตาง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

                     ยีนมีตําแหนงอยูบนโครโมโซมและสามารถถายทอดจากชั่วหนึ่งไปยังอีกชั่วหนึ่งตามการถายทอด
                     โครโมโซมในระหวางการแบงเซลล โดยปกติโครโมโซมแทงหนึ่งจะเปนที่อยูของยีนหลายตัว กลุม

                     ของยีนที่อยูบนโครโมโซมเดียวกันเราเรียกวา กลุมลิงเกจ (linkage group) เดียวกัน


                     4.2 กลุมลิงเกจ



                               ดังที่ไดกลาวไวแลววา กลุมลิงเกจหนึ่ง (linkage group) ประกอบดวยยีนจํานวนหนึ่งที่อยู
                     บนโครโมโซมเดียวกัน จากการศึกษาลิงเกจในพืชและสัตวหลายชนิดพบวา กลุมลิงเกจมี

                     ความสัมพันธโดยตรงกับจํานวนคูโครโมโซม เชน แมลงหวี่มีจํานวนโครโมโซม 4 คู และมีกลุมลิง

                     เกจ 4 กลุม (ตารางที่ 4.1) ขาวโพดมีจํานวนโครโมโซม 10 คู และมีกลุมลิงเกจ 10 กลุม การคนพบ
                     สภาพของลิงเกจทําใหความรูเกี่ยวกับการถายทอดพันธุกรรมเจริญกาวหนามากยิ่งขึ้น



                               โดยปกติยีนที่เปนลิงเกจกัน (linked genes) มักจะถูกถายทอดไปดวยกัน จากชั่วหนึ่งไปยัง
                     อีกชั่วหนึ่งตามการถายทอดโครโมโซมในระหวางการแบงเซลล แตในบางครั้งพบวายีนที่เปนลิงเกจ

                     กันมีโอกาสแยกออกจากกันโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครมาติดของโครโมโซมคูเหมือน

                     (crossing over) ซึ่งเกิดขึ้นในระหวางการแบงเซลลแบบไมโอซิสที่ระยะดิพโพลทีน ถาดูจากกลอง
                     จุลทรรศนจะเห็นเปนรูปรอยไขวระหวางโครมาติดของโครโมโซมคูเหมือนที่มาเขาคูแนบชิดกัน เรียก

                     รอยไขวของโครโมโซมวา ไคแอสมา (chiasma) ปรากฏการณครอสซิงโอเวอร อาจเกิดขึ้นที่ตําแหนง

                     ใด ๆ ก็ไดบนโครโมโซมคูใดคูหนึ่ง หรืออาจเกิดครอสซิงโอเวอรที่ 2 ตําแหนงพรอม ๆ กันก็ได
                     เรียกวา ครอสโอเวอร คูหรือดับเบิลครอสโอเวอร (double crossover)  ดังแสดงในรูปที่ 4.1
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45