Page 158 -
P. 158

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       154






                               อยางไรก็ตามปจจุบันนี้การเพาะเลี้ยงอับละอองเกสร และการขจัดทิ้งโครโมโซม เปนวิธีที่

                     นิยมใชในการผลิตตน haploid มากที่สุด


                     14.4 ลักษณะทั่วไปของพืชแฮพลอยด



                               ในที่นี้จะกลาวถึงลักษณะทั่วไปของพืชโมโนแฮพลอยดหรือโมโนพลอยดที่เจริญมาจาก
                     เซลลสืบพันธุของพวกดิพลอยด โดยปกติพืชโมโนพลอยดจะมีขนาดเล็กและออนแอกวาพวก

                     ดิพลอยด ดอกมักเปนหมันทําใหอัตราการติดเมล็ดต่ําหรือไมติดเมล็ดเลย เซลลและนิวเคลียสมีขนาด

                     เล็ก จึงทําใหผิวใบดานลางมีจํานวนปากใบ (stomata)  ตอหนึ่งหนวยพื้นที่มากกวาดิพลอยด ใน
                     ขาวโพดโมโนพลอยดพบวาปากใบในระยะตนกลามีขนาดเล็กและอยูชิดกันมากกวาพวกดิพลอยด โม

                     โนพลอยดของขาวโพดลูกผสมหัวบุบ (dent corn) มีใบดกและตั้งตรง มีฝกดกแตฝกขนาดเล็ก ชอดอก

                     ตัวผูเปนหมัน แตก็มีบางสวนที่ผลิตละอองเกสรปกติ ในขาวฟางไขมุก (pearl millet) พวกโมโพลอยด
                     มีขนาดเล็กกวาดิพลอยด ในดานความสูง การแตกกอ จํานวนขอ ขนาดขอ ขนาดลําตน และความกวาง

                     และยาวของใบ นอกจากนี้ยังพบวาอัตราการติดเมล็ดแตกตางกันไปตั้งแตไมมีเมล็ดเลยจนถึงมีเมล็ด

                     502 เมล็ดตอตน


                     14.5 พฤติกรรมการแบงเซลลแบบไมโอซิสของพืชแฮพลอยด


                               กระบวนการแบงเซลลแบบไมโอซิสจะดําเนินไปอยางปกติไดโครโมโซมจะตองอยูเปนคู

                     ๆ (bivalent) ตามจํานวนโครโมโซมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ แตสิ่งมีชีวิตพวกโมโนแฮพลอยดมี

                     โครโมโซมชุดพื้นฐานเพียงชุดเดียว (x) กลาวคือ โครโมโซมจะอยูเดี่ยว ๆ (univalent) ไมมีคู จึงทําให
                     พฤติกรรมของโครโมโซมในระหวางการแบงเซลลแบบไมโอซิสผิดปกติ เนื่องจากโครโมโซมไมมี

                     การจับคูกัน อยางไรก็ตามในขาว ขาวโพด ขาวบารเลย และมะเขือเทศ พบวามีการจับคูกันระหวาง

                     โครโมโซมของพวกโมโนแฮพลอยดดวยกันเอง (intragenomic pairing) การจับคูดังกลาวอาจเกิดขึ้น
                     ระหวางโครโมโซม 2 เสน (bivalent) 3  เสน (trivalent)  4 เสน (quadrivalent)  หรือหลายเสน

                     (multivalent)  การจับคูกันของโครโมโซมในพวกโมโนพลอยดเชื่อวาเกิดจากการที่โครโมโซมมี

                     ชิ้นสวนเพิ่มขึ้นมา (duplication) หรือซ้ํา ๆ กัน (genetic redundancy) อยางไรก็ตามโครโมโซมสวน

                     ใหญยังอยูในภาพที่เปนโครโมโซมเดี่ยว ๆ (univalent) ในระยะอะนาเฟส I โครโมโซมจะเคลื่อนที่เขา
                     สูขั้วเซลลอยางสุม เมื่อสิ้นสุดการแบงเซลลแบบไมโอซิสเซลลสืบพันธุที่ไดจึงมีจํานวนโครโมโซมไม

                     ครบชุด และมักจะตาย ดังนั้นพืชพวกโมโนแฮพลอยดจึงมักเปนหมัน อยางไรก็ตามในบางครั้งโมโน

                     แฮพลอยดอาจมีเมล็ดไดเนื่องจากโครโมโซมเดี่ยว ๆ ทั้งหมดอาจเคลื่อนที่เขาสูขั้วเซลลเดียวกัน

                     เรียกวา restitution nucleus จึงทําใหไดเซลลสืบพันธุที่สมบูรณสามารถผสมพันธุได
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163