Page 154 -
P. 154

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       150






                               2.  อะนูพลอยด (aneuploid) คือ พืชที่มีโครโมโซมเพิ่มขึ้นมาหรือขาดหายไปเปนบางแทง

                     แตไมใชการเพิ่มหรือลดจํานวนโครโมโซมเปนชุด อะนูพลอยดยังแบงออกไดหลายชนิด เชน นัลลิโซ

                     มิค (nullisomic, 2x-2) โมโนโซมิค (monosomic, 2x-1) ไตรโซมิค (trisomic, 2x+1) และเตตราโซมิค
                     (tetrasomic, 2x + 2) เปนตน



                     14.2 แฮพลอยด


                               แฮพลอยด (haploid) คือ ตนพืชที่มีจํานวนโครโมโซมเทากับโครโมโซมของเซลลสืบพันธุ

                     (gametic chromosome  number)  เจริญมาจากเซลลสืบพันธุที่ไมไดรับการผสมและมีจํานวน
                     โครโมโซมเปนครึ่งหนึ่งของโครโมโซมเซลลรางกาย (somatic chromosome number) บางครั้งอาจ

                     เรียกวา ตนโมโนพลอยด (monoploid)  โดยแฮพลอยดแตกตางจากโมโนพลอยดตรงที่วา โมโน

                     พลอยดเกิดจากเซลลสืบพันธุของพวกดิพลอยด เชน ขาวโพดเปนพืชดิพลอยด (2n = 2x = 20) เมื่อ
                     สรางเซลลสืบพันธุจะมีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (n = x = 10) สวนแฮพลอยดนั้นเกิดจากพืชที่เปนดิ

                     พลอยดหรือโพลีพลอยดก็ได เชน ขาวสาลีที่เปนเฮกซะพลอยด (2n  = 6 x  = 42)  ประกอบดวย

                     โครโมโซม 6 ชุด (AABBDD)  เมื่อสรางเซลลสืบพันธุจะมีโครโมโซม 3 ชุด (ABD)  และมีจํานวน

                     โครโมโซม n = 3x = 21 ซึ่งความจริงแลวเซลลสืบพันธุนี้มีสภาพเปนทริพลอยด ดังนั้นเซลลสืบพันธุที่
                     เปนทริพลอยดนี้ถาหากสามารถเจริญเปนตนขาวสาลีไดก็เรียกวา แฮพลอยด แตหากจะเรียกใหถูกตอง

                     ก็คือ อัลโลทริพลอยด หรือโพลีแฮพลอยด (polyhaploid)  จะเรียกวา โมโนพลอยดไมได เพราะมี

                     โครโมโซมถึง 3 ชุดที่แตกตางกัน ขาวโพดที่เปนพืชดิพลอยดเมื่อเซลลสืบพันธุ (n = x = 10) เจริญเปน
                     ตนก็เรียกวา แฮพลอยดไดเชนกัน แตถาตองการใหเขาใจชัดเจนยิ่งขึ้นควรเรียกวา โมโนแฮพลอยด

                     (monohaploid) เนื่องจากมีพืชหลายชนิดที่เรายังไมทราบถึงสภาพการเปนดิพลอยดหรือโพลีพลอยด

                     จึงนิยมใชคําวา แฮพลอยดเปนคํารวมที่ใชกับโมโนพลอยดดวย


                     14.3 กําเนิดของแฮพลอยด


                               แฮพลอยดอาจเกิดขึ้นไดเองในธรรมชาติหรือชักนําใหเกิดขึ้น  แตที่พบเกิดขึ้นในธรรมชาติ

                     มีนอยมาก  กําเนิดของแฮพลอยดในธรรมชาตินั้นยังไมทราบแนชัด  แตโดยทั่วไปเกิดจากขบวนการ

                     สืบพันธุที่ผิดปกติแบบพารธีโนเจนเนซิส (parthenogenesis) โดยตนแฮพลอยดเจริญมาจากไขที่ไดจาก
                     การแบงเซลลแบบไมโอซิส  แตไมมีการผสมระหวางไขกับสเปรม  ในพืชตนแฮพลอยดที่เกิดขึ้นใน

                     ธรรมชาติ พบมากในมะเขือเทศ ฝาย กาแฟ บีท บารเลย ปาน มะพราว ขาวฟางไขมุก (pearl millet)

                     เรฟ (rape) มันฝรั่ง และขาวสาลี


                               กําเนิดของแฮพลอยดในธรรมชาติหรือโดยการชักนําใหเกิดขึ้นมีหลายวิธีดังนี้
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159