Page 153 -
P. 153

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       149






                                                            บทที่ 14

                                                           แฮพลอยด

                                                           (Haploid)


                     14.1 คํานํา



                               โดยปกติสิ่งมีชีวิตพวกดิพลอยด (diploid) มีจํานวนโครโมโซมเฉพาะเจาะจง และคงที่ใน
                     สิ่งมีชีวิตแตละชนิด และเมื่อสรางเซลลสืบพันธุจะมีจํานวนโครโมโซมเปนครึ่งหนึ่ง (n =  x)  ของ

                     โครโมโซมเซลลรางกาย (2n  = 2x)  จํานวนโครโมโซมทั้งหมดในเซลลสืบพันธุ จัดวาเปนชุด
                     โครโมโซมพื้นฐาน (basic set, x) ของสิ่งมีชีวิต และชุดโครโมโซมพื้นฐานนี้ก็คือ ยีโนม (genome)

                     หนึ่งหรือโครโมโซมชุดหนึ่งนั่นเอง เชน ขาวโพดที่เปนดิพลอยดมีจํานวนโครโมโซมพื้นฐาน 2 ชุด

                     (2n = 2x = 20) แตละชุดมีจํานวนโครโมโซม 10 แทง (x = 10) และโครโมโซมทั้งสองชุดนั้นเปนยี
                     โนมเดียวกัน (AA) แตในขาวสาลีที่ใชทําขนมปง (bread wheat) ซึ่งเปนพืชเฮกซะพลอยดมีจํานวน

                     โครโมโซมพื้นฐาน 6 ชุด (2n = 6x = 42) แตละชุดมีจํานวนโครโมโซม 7 แทง (x = 7) และโครโมโซม

                     ทั้ง 6 ชุดนี้ประกอบดวยยีโนมที่แตกตางกัน 3 ชนิด (AABBDD)  คือ ยีโนม A, B  และ D  โดย
                     โครโมโซมจากยีโนมที่แตกตางกันจะไมสามารถมาจับคูกันเปนไบวาเลนตในระหวางการแบงเซลล

                     แบบไมโอซิส เซลลสืบพันธุที่ไดจึงไมสมบูรณ และเปนหมัน ภายหลังการผสมพันธุจะไมติดเมล็ด ใน

                     บางครั้งพบวา พืชและสัตวหลายชนิดมีความแปรปรวนในจํานวนโครโมโซม กลาวคือ มีการเพิ่มหรือ
                     ลดจํานวนโครโมโซมจากจํานวนปกติของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ความแปรปรวนในจํานวนโครโมโซมยัง

                     แบงออกไดเปน 2 พวกใหญ ๆ ดังนี้

                               1.  ยูพลอยด (euploid)  คือ พืชที่มีจํานวนโครโมโซมเพิ่มหรือลดลงเปนชุดจากสภาพ
                     ดิพลอยด ไดแก โมโนพลอยด (monoploid) หรือแฮพลอยด (haploid) ซึ่งมีโครโมโซมพื้นฐานชุดเดียว

                     (x) ทริพลอยด (triploid) ซึ่งมีอยู 3 ชุด (3x) เตตราพลอยด (tetraploid) ซึ่งมีอยู 4 ชุด (4x) หรือเฮกชะ
                     พลอยด (hexaploid) ซึ่งมีอยู 6 ชุด (6x) เปนตน พืชที่มีจํานวนโครโมโซมมากกวา 2 ชุดขึ้นไปเรียกวา

                     โพลีพลอยด (polyploidy) โพลีพลอยดยังแบงยอยออกไปไดอีกเปน 2 พวกขึ้นอยูกับชนิดของยีโนมที่
                     เปนองคประกอบของพืชนั้น ๆ

                                 ก.  ออโตโพลีพลอยด  (autopolyploid)  คือ  โพลีพลอยดที่มีโครโมโซมมาจากยีโนม

                     เดียวกัน เชน ออโตทริพลอยด (autotriploid, AAA) ออโตเตตราพลอยด (autotetraploid, AAAA) และ
                     ออโตเฮกซะพลอยด (autohexaploid, AAAAAA)

                                 ข.  อัลโลโพลีพลอยด  (allopolyploid)  คือ  โพลีพลอยดที่มียีโนมแตกตางกันตั้งแต  2

                     ชนิดขึ้นไป  เชน  อัลโลทริพลอยด  (allotriploid, AAB) อัลโลเตตราพลอยด  (allotetraploid, AABB)
                     อัลโลเพนตะพลอยด (allopentaploid, AABBC) และอัลโลเฮกซะพลอยด (allohexaploid, AABBCC)

                     เปนตน
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158