Page 162 -
P. 162
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
158
แฮพลอยด ซึ่งเมื่อเราชักนําใหมีการเพิ่มจํานวนชุดของโครโมโซม จะไดพืชสายพันธุแทในทันที ความ
เสื่อมถอยของลักษณะตาง ๆ ที่เปนผลมาจากการผสมตัวเองจึงไมเกิดขึ้น
4. ชวยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือก ทั้งนี้เพราะนักปรับปรุงพันธุพืชสามารถนํา
สายพันธุแทไปทดสอบไดรวดเร็วขึ้นภายใน 2 ชั่วของการสรางพืชสายพันธุแทจากตนแฮพลอยด
นอกจากนี้สายพันธุแทที่ไดจากการเพาะเลี้ยงอับละอองเกสรของพืชลูกผสมชั่วที่ 1 จะมียีโนไทปทุก
รูปแบบ ทําใหมีโอกาสสูงที่จะคัดเลือกไดสายพันธุแทที่มีลักษณะตามตองการ
5. ชวยเพิ่มประสิทธิภาพการใชประโยชนจากเฮตเทอโรซิส (heterosis) เปนที่ทราบ
กันดีวาสายพันธุแทที่ไดจากการเพิ่มจํานวนชุดโครโมโซมของตนแฮพลอยดมีความเปนโฮโมไซโกซิ
ตีสูงกวาสายพันธุแทที่ไดจากการผสมตัวเองของตนดิพลอยด ดังนั้นเมื่อนําสายพันธุแทที่มีความ
บริสุทธิ์ทางพันธุกรรมสูง ๆ เหลานี้มาผสมพันธุกันเพื่อผลิตลูกผสม ลูกผสมที่ไดจะมีเฮตเทอโรซิส
สูงสุด กลาวคือ จะมีความสม่ําเสมอ ความแข็งแรง และใหผลผลิตสูงสุด Wu et al. (1980) พบวา
ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหวางสายพันธุแทที่ผลิตจากตนแฮพลอยด (doubled haploid line) ให
ผลผลิตสูงกวาลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหวางสายพันธุแทที่ไดจากการผสมตัวเอง (inbred line)
6. ตนแฮพลอยดมีประโยชนในการศึกษาการกลายพันธุของพืช (mutagenesis)
เนื่องจากตนแฮพลอยดมีโครโมโซมเพียงชุดเดียว ยีนในแตละตําแหนงจึงอยูในสภาพยีนเดี่ยวไมมีคู
ของมัน (allele) ดังนั้นเมื่อมีการชักนําใหเกิดการกลายพันธุของยีน เชน ทําใหยีนเดนเปลี่ยนแปลงเปน
ยีนดอย ลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนนั้นจะแสดงออกมาทันที ทําใหเราสามารถคัดเลือกลักษณะที่
ตองการไดตั้งแตในระยะที่เปนแฮพลอยด ซึ่งเปนการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกอีกวิธีหนึ่ง
7. สายพันธุแทที่ผลิตจากตนแฮพลอยดมีประโยชนอยางยิ่งในการทําแผนที่ยีนที่
เรียกวา แผนที่ยีโนม (genome mapping) เพื่อหาตําแหนงของยีนที่ควบคุมลักษณะทางคุณภาพ (major
gene) หรือลักษณะทางปริมาณ (quantitative trait loci หรือ QTL) โดยปกติการทําแผนที่ยีนจะอาศัย
ประชากรที่มีการกระจายตัวของลักษณะตาง ๆ (segregating population) หรือประชากรชั่วที่ 2 ที่ได
จากการผสมพันธุระหวางพอแมที่มียีนแตกตางกัน การใชประชากรของสายพันธุแทที่ผลิตจากตน
แฮพลอยดในการหาตําแหนงของยีน จะใหขอมูลที่แนนอนและนาเชื่อถือกวา ทั้งนี้เนื่องจากการ
แสดงออกของลักษณะที่อยูกึ่งกลาง (intermediate phenotypic expression) ที่เกิดจากยีนในสภาพ
เฮตเทอโรไซกัสจะถูกขจัดทิ้งไป ยีนแตละคูจะมีการกระจายตัวในอัตราสวน 1 : 1 สําหรับทั้ง
เครื่องหมายโมเลกุล (molecular marker) (เชน RFLP, SSR, EST) และลักษณะที่แสดงออกของพืช
(phenotype) ปจจุบันมีการนําสายพันธุแทที่ผลิตจากตนแฮพลอยดมาใชในการทําแผนที่ยีโนมของพืช
บางชนิด เชน ขาว ขาวบารเลย และเรฟซีด (oil rape seed) (Phillips and Vasil, 2001)