Page 167 -
P. 167

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       163






                               4.  ออโตอัลโลโพลีพลอยด (autoallopolyploid) เปนโพลีพลอยดที่ประกอบดวยยีโนมมาก

                     กวา 2 ยีโนมโดยยีโนมหนึ่งเปนออโตโพลีพลอยด เชน AAAABB จะเห็นไดวายีโนม A มี 4 ชุด และ

                     ยีโนม B มี 2 ชุด ดังนั้นในการแบงเซลลแบบไมโอซิสโครโมโซมมีการจับคูกันเปนไบวาเลนต  เตตรา
                     วาเลนต และมัลติวาเลนต


                     15.3 ลักษณะทั่วไปของพืชพวกโพลีพลอยด
                               1.  โดยทั่วไปพืชพวกโพลีพลอยดจะมีสวนประกอบตาง ๆ ที่มีขนาดใหญ เชน ราก ลําตน

                     กิ่ง ใบ ดอก และผล เนื่องจากเซลลมีขนาดใหญอวบอิ่มน้ํามากขึ้น เมื่อสังเกตที่ใบจะพบใบหนาและมี

                     สีเขียวเขมขึ้น เชน ขาวโพดที่เปนเตตราพลอยดใบจะหนากวาดิพลอยด เซลลปากใบมีขนาดใหญ แต
                     จํานวนปากใบตอหนวยพื้นที่ลดลง ละอองเกสรผูมีขนาดใหญ อยางไรก็ตามการเพิ่มขนาดของเซลล
                     ตามการเพิ่มจํานวนชุดของโครโมโซมมีขอบเขตจํากัด พืชแตละชนิดมีจํานวนชุดโครโมโซมที่

                     เหมาะสมที่สุด ถาเกิดขีดจํากัดจะเปนผลเสีย ทําใหสิ่งมีชีวิตออนแอ เปนหมัน ฯลฯ พืชหลายชนิดการ

                     เพิ่มจํานวนชุดของโครโมโซมมิไดทําใหมีขนาดใหญขึ้น เชน แพรเซี่ยงไฮ (portulaca) และอลิสซึม
                     (alyssum) ซึ่งเปนไมดอกชนิดหนึ่ง ตนโพลีพลอยดมีขนาดเล็กกวาตนดิพลอยด
                               2.  โพลีพลอยดสวนใหญมักมีอัตราการเจริญเติบโตชา  เนื่องจากมีอัตราการแบงเซลลชา

                     กวาปกติ เชน พวกออโตเตตราพลอยดมีอัตราการเจริญเติบโตชากวาพวกดิพลอยด ซึ่งมีผลทําใหออโต

                     โพลีพลอยดออกดอกชา และบางทีดอกอาจรวงชากวาพวกดิพลอยด นอกจากนี้ในพืชหลายชนิดอาจมี
                     กิ่งกานนอยกวา
                               3.  ความสมบูรณพันธุของละอองเกสร (pollen fertility) ของพวกโพลีพลอยดมักจะต่ํา ทํา

                     ใหเปอรเซ็นตการติดเมล็ดลดลง  เชน  ขาวโพดที่เปนเตตราพลอยดมีเปอรเซ็นตการติดเมล็ดประมาณ

                     80-90 % ของพวกดิพลอยด ในผักกาดหอมติดเมล็ดเพียง 5-15 % ในฝาย (Gossypium herbaceum) ไม
                     ติดเมล็ดเลย  การเปนหมันของโพลีพลอยดเกิดจากโครโมโซมมีการเขาคูกันและแยกตัวออกจากกัน
                     อยางผิดปกติในระหวางการแบงเซลลแบบไมโอซิส  แตในขาวโพดพบวา  ความผิดปกติดังกลาว

                     เกิดขึ้นเนื่องจากมียีนควบคุม

                               4.  โพลีพลอยดมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูงกวาดิพลอยด เนื่องจากเมื่ออยูในสภาพ
                     ที่เปนเฮตเทอโรไซโกตแลว การลดเฮตเทอโรไซโกตจะเกิดขึ้นนอยและชากวาดิพลอยด
                               5.  โพลีพลอยดมีการถายทอดลักษณะและพันธุกรรมที่ซับซอนกวาดิพลอยด  เนื่องจากยีน

                     แตละตําแหนงมีหลายซ้ํา และการจับตัวของโครโมโซมมีมากแบบ

                               6.  โพลีพลอยดทนทานตอการเพิ่มหรือการขาดหายไปของโครโมโซมมากกวาดิพลอยด
                     เนื่องจากโครโมโซมแตละคูมีมากกวา  2  แทง  การขาดหายไปหรือเพิ่มขึ้นมาของชิ้นสวนโครโมโซม
                     จึงไมทําใหลักษณะของพืชเปลี่ยนแปลงไปมากนัก

                               7.  อัตราการกลายพันธุที่ตรวจสอบไดในโพลีพลอยดต่ํากวาดิพลอยด  เนื่องจากเมื่อมีการ

                     กลายพันธุของยีนใด ๆ ถาการกลายพันธุนั้นเปนลักษณะดอยแลว จะตองมีการกลายพันธุของยีนหลาย
                     ตัวหรือจะตองผสมพันธุหลายชั่ว จนกวาจะพบตนที่มียีนนั้น ๆ อยูในสภาพที่เปนโฮโมไซกัส
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172