Page 171 -
P. 171
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
167
16.2 กําเนิดของออโตโพลีพลอยด
ในธรรมชาติโพลีพลอยดเกิดจากการแบงตัวที่ผิดปกติของเซลลสืบพันธุ ทําใหไดเซลล
สืบพันธุที่มีจํานวนโครโมโซมเทากับเซลลรางกาย (unreduced gamete, n = 2x) เซลลสืบพันธุแบบนี้
เมื่อผสมกันเองจะไดพืชที่เปนออโตเตตราพลอยด (2n = 4x) แตเมื่อผสมกับเซลลสืบพันธุปกติ (n = x)
จะไดพืชที่เปนออโตทริพลอยด (2n = 3x) ในอีกกรณีหนึ่งอาจเกิดจากการแบงตัวที่ผิดปกติของเซลล
รางกายแบบเอนโดไมโตซิส กลาวคือ โครโมโซมมีการเพิ่มจํานวนขึ้นเปนสองเทา แตไมมีการแบงไซ
โตพลาสซึม ทําใหเซลลมีจํานวนโครโมโซมเปน 4 ชุด (2n = 4x) เซลลนี้หากอยูในสวนที่เจริญเปน
ดอกจะสรางละอองเกสรและไขที่มีโครโมโซม 2 ชุด (2n = 2x) ดังนั้นเมื่อผสมตัวเอง หรือผสมกับไข
หรือละอองเกสรของพืชตนอื่นที่มีจํานวนโครโมโซม 2 ชุดเชนเดียวกัน จะใหลูกที่เปนออโตเตตรา
พลอยด (2n = 4x) พืชประเภทไมดอกไมประดับที่เปนออโตโพลีพลอยดสวนมากมีกําเนิดมาจากวิธีนี้
16.3 วิธีการผลิตพืชพวกออโตโพลีพลอยด
การผลิตพืชพวกออโตโพลีพลอยด หรือออโตพลอยด (autoploid) กระทําไดหลายวิธี ดังนี้
1. การตัดยอด (decapitation) และการชักนําใหเนื้อเยื่อตรงรอยตัดเจริญเปนแคลลัส
(callus) โดยการกระตุนดวยออกซิน (auxin)หรือไมตองกระตุนดวยออกซิน ตามดวยการชักนําให
แคลลัสพัฒนาไปเปนตน ตนที่ไดบางตนจะเปนโพลีพลอยด เชน มันฝรั่ง ยาสูบ ในมะเขือเทศการตัด
ยอดและชักนําใหเกิดแคลลัส ตนที่พัฒนามาจากแคลลัสพบวา เปนตนเตตราพลอยด 10 % ในการตอ
กิ่ง (grafting) บอยครั้งพบวายอดที่งอกออกมาตรงบริเวณรอยตอเปนเตตราพลอยด
2. การคัดเลือกจากตนกลาแฝด (twin seedling) เปนวิธีการหนึ่งในการผลิตตนออโต
พลอยดในระยะแรก ๆ Müntzing (1937) เปนคนแรกที่พบตนออโตโพลีพลอยดในตนกลาแฝด
โดยทั่วไปเราจะพบตนกลาแฝดในอัตราที่ต่ํามากในระหวางตนกลาปกติที่งอกออกจากเมล็ด ตนกลา
แฝดดังกลาวมักจะใหตนพืชที่เปนเฮตเทอโรพลอยด (heteroploid) ประกอบดวยตนพืชปกติและตน
พืชที่มีความผิดปกติในจํานวนโครโมโซม ซึ่งอาจเปนตนออโตโพลีพลอยด ทําใหเราสามารถคัดเลือก
ตนที่เปนออโตโพลีพลอยดได รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไดอธิบายไวบางแลวในขอ 14.3.3
3. การใชอุณหภูมิสูง ๆ (heat treatment) เปนระยะเวลาสั้น ๆ สามารถชักนําใหเกิดตนโพ
ลีพลอยดได เชน การใชแผนผารอน ๆ หุมฝกขาวโพดสามารถชักนําใหตนขาวโพดที่งอกจากเมล็ดมี
จํานวนโครโมโซมเพิ่มขึ้นเทาตัว (Randolph, 1932)
4. การใชสารเคมี (chemical treatment) สารเคมีบางชนิดสามารถชักนําใหเกิดตนพืชที่
เปนโพลีพลอยดได เชน โคลชิซินซึ่งเปนสารพวกอัลคาลอยดสามารถยับยั้งการทํางานของสายใยสปน
เดิลในระหวางการแบงเซลลแบบไมโตซิส ทําใหคูโครมาติดของโครโมโซมไมแยกออกจากกัน จึงมี
ผลทําใหจํานวนโครโมโซมเพิ่มขึ้นเปนหลาย ๆ เทาของโครโมโซมปกติ นอกจากโคลชิซินแลวยังมี
สารเคมีอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่อาจใชในการชักนําใหเกิดตนโพลีพลอยดได เชน คลอรอล ไฮเดรท
(chloral hydrate) อีเทอร (ether) คลอโรฟอรม (chloroform) อะซีแนพชีน (acenapthene) เพนนิลยูรี