Page 173 -
P. 173

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       169






                     16.4 ประโยชนของออโตโพลีพลอยดในการปรับปรุงพันธุพืช



                               ออโตโพลีพลอยดมีประโยชนในการปรับปรุงพันธุพืชก็เนื่องมาจากพืชที่เปนออโตโพลี
                     พลอยดมักจะมีสวนตาง ๆ ที่มีขนาดใหญ เชน ราก ใบ ดอก ผล และเมล็ด ในพวกไมดอก ไมประดับ

                     การมีดอกขนาดใหญและบานทนยอมเปนที่ตองการของตลาด เชน ตนลิ้นมังกร (snapdragon) ที่เปนเต

                     ตราพลอยด (2n = 4x = 32) มีชอดอกขนาดใหญกวาดิพลอยด (2n = 2x = 16) ในพืชอาหารสัตวที่มีใบ

                     ขนาดใหญยอมเปนประโยชนตอสัตวเลี้ยง  ในธัญพืชถาเมล็ดมีขนาดโตขึ้น  อาจชวยทําใหผลผลิต
                     เพิ่มขึ้น เชน ขาวไรยที่เปนเตตราพลอยด (2n = 4x = 28) เมล็ดมีขนาดใหญกวาดิพลอยด (2n = 2x =

                     14)  นอกจากนี้การปรับปรุงพันธุพืชใหเปนออโตโพลีพลอยดอาจทําใหองคประกอบทางเคมีเปลี่ยน

                     แปลงไป เชน ขาวโพดที่เปนเตตราพลอยดมีปริมาณวิตามินเอสูงกวาพวกดิพลอยดถึง 40 % มะเขือเทศ
                     และกะหล่ําปลีที่เปนเตตราพลอยดมีปริมาณกรดแอสคอบิค (ascorbic acid) เพิ่มขึ้น อยางไรก็ตามในซู

                     การ บีทที่เปนทริพลอยดกลับมีปริมาณน้ําตาลนอยกวาพวกดิพลอยด


                               พืชที่เปนออโตโพลีพลอยดก็มีขอเสียซึ่งเปนตัวจํากัดการใชประโยชนในการปรับปรุง

                     พันธุ  โดยพืชพวกโพลีพลอยดมักจะเปนหมัน  ผลิตละอองเกสรไดนอย  จึงทําใหเปอรเซ็นตการติด

                     เมล็ดต่ํา  ซึ่งจัดวาเปนลักษณะที่ไมตองการในธัญพืชที่เราปลูกเอาเมล็ดเปนผลผลิต  หรือในพืชที่
                     ขยายพันธุดวยเมล็ด  อยางไรก็ตามพืชที่ขยายพันธุโดยไมใชเมล็ด  เชน  หญาบางชนิด  มันฝรั่ง  มัน

                     สําปะหลัง  ไมผล  ไมดอกและไมประดับ  ปญหาดังกลาวจะหมดไป  ดังนั้นออโตโพลีพลอยดจึงมี

                     ประโยชนสําหรับการปรับปรุงพันธุพืชที่ขยายพันธุโดยไมใชเมล็ดมากกวาพืชที่ขยายพันธุโดยใช
                     เมล็ด



                               ในขาวสาลีมีการคนพบยีนที่ควบคุมใหโครโมโซมของออโตโพลีพลอยดมาจับคูกัน
                     เปนไบวาเลนตแทนการจับคูแบบมัลติวาเลนต ทําใหเปอรเซ็นตการติดเมล็ดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาจ

                     เพิ่มอัตราการติดเมล็ดไดโดยวิธีการคัดเลือกติดตอกันหลาย ๆ ชั่ว ซึ่งทําสําเร็จในพืชหลายชนิด เชน

                     ขาวโพด ขาวไรย และซูการ บีท


                               การผลิตพืชออโตโพลีพลอยดที่แข็งแรงและไมเปนหมันจากพืชดิพลอยดที่มีจํานวน

                     โครโมโซมนอย ๆ จะประสบความสําเร็จมากกวาที่จะผลิตจากพืชดิพลอยดที่มีจํานวนโครโมโซม
                     มาก ๆ



                               การผลิตออโตโพลีพลอยดจากพืชผสมขามจะประสบความสําเร็จมากกวาผลิตจากพืชผสม
                     ตัวเอง เนื่องจากพืชผสมขามเปดโอกาสใหมีการรวมตัวกันของยีนในรูปแบบตาง ๆ ทําใหเพิ่มโอกาส

                     ที่จะไดออโตโพลีพลอยดที่มีพันธุกรรมที่สมดุล (balanced polyploidy genotype)
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178