Page 118 -
P. 118

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       114






                     10.8 การตรวจสอบการขาดหายไปของชิ้นสวนโครโมโซม

                               สิ่งมีชีวิตที่โครโมโซมแทงใดแทงหนึ่งมีการขาดหายไปของชิ้นสวนตรงกลางโครโมโซม

                     และมีพันธุกรรมอยูในสภาพที่เปนเฮตเทอโรไซกัส ในระหวางการแบงเซลลแบบไมโอซิส ที่ระยะ

                     พะคีทีนโครโมโซมคูเหมือนซึ่งประกอบไปดวยโครโมโซมปกติและโครโมโซมที่มีชิ้นสวนขาด
                     หายไปจะมาจับคูกัน แตโครโมโซมปกติจะยาวกวาโครโมโซมที่มีชิ้นสวนขาดหายไป ดังนั้นใน

                     ระหวางการจับคูโครโมโซมปกติจะตองสรางหวง (loop  หรือ buckle)  ขึ้น ซึ่งอยูตรงกันขามกับ

                     ชิ้นสวนที่ขาดหายไปของโครโมโซมอีกแทงหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อใหการจับคูดําเนินไปอยางสมบูรณ (รูป
                     ที่ 10.6) เราสามารถมองเห็นหวงดังกลาวไดจากกลองจุลทรรศนธรรมดา โดยตําแหนงและขนาดของ

                     หวงจะแตกตางกันไปขึ้นอยูกับตําแหนงและขนาดของชิ้นสวนที่ขาดหายไป


                               ถาโครโมโซมนั้นมีชิ้นสวนตรงปลายขาดหายไป การจับคูกันของโครโมโซมคูเหมือนจะ

                     เกิดขึ้นตลอดความยาวโครโมโซม ยกเวนตรงสวนปลายที่โครโมโซมไมมาจับคูกัน


























                     รูปที่ 10.6  การจับคูกันระหวางโครโมโซมปกติกับโครโมโซมที่มีชิ้นสวนขาดหายไป (heterozygous

                               deletion) ในระยะพะคีทีนของการแบงเซลลแบบไมโอซิสของเซลลตอมน้ําลายแมลงหวี่

                               โดยโครโมโซมปกติจะสรางหวง (loop) ขึ้น ซึ่งอยูตรงกันขามกับชิ้นสวนที่ขาดหายไป
                               ของโครโมโซมอีกแทงหนึ่ง
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123