Page 108 -
P. 108
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
104
9.11.2 การกระจายตัว ความผันแปรในจํานวนและอิทธิพลของโครโมโซม-บี
โดยทั่วไปในสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งถาจํานวนโครโมโซมปรากฏใหเห็นเปนเลขคู
มักจะถือวาไมใชโครโมโซม-บี ในขาวโพดโครโมโซม-บีมีจํานวนอยูระหวาง 1 ถึง 3 แตผูสังเกต
พบวามีจํานวนสูงสุดถึง 34 แทง (Rhoades, 1955) การมีโครโมโซม-บีจํานวนสูง ๆ อาจมีผลตอความ
สมบูรณพันธุ (fertility) ของสิ่งมีชีวิตนั้น เชน ในขาวโพด เมื่อโครโมโซม-บีมีจํานวนอยูระหวาง 10-
15 แทงจะไมมีอิทธิพลตอความแข็งแรงและความสมบูรณพันธุ (fertility) ของละอองเกสร เมื่อ
โครโมโซม-บีมีจํานวนเพิ่มขึ้นจาก 15 เปน 25 แทงจะทําใหความแข็งแรง ความสมบูรณพันธุของ
ละอองเกสร และเปอรเซ็นตการติดเมล็ด (seed set) เพิ่มขึ้น แตขาวโพดที่มีโครโมโซม-บีจํานวน 30
ถึง 34 แทงกลับมีความแข็งแรงลดลงและเปนหมันทั้งหมด ในขาวไรยที่เปนดิพลอยด (2x = 14) พบวา
มีจํานวนโครโมโซม-บีสูงสุด 10 อัน สวนพวกเตตราพลอยด (4x = 28) พบจํานวนสูงสุด 12 อัน
จากที่ไดกลาวไวแลววา จํานวนโครโมโซม-บีผันแปรไปในระหวางประชากร หนวย
ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เนื้อเยื่อที่ตางกันในสิ่งมีชีวิตนั้น และเซลลที่ตางกันในเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ใน
หญา Poa alpina พบโครโมโซม-บีในเซลลรากอันแรกที่งอกออกจากเมล็ด (primary root) แตไมพบ
ในเซลลของรากแขนงอื่น ๆ (adventitious root) ในหนอน (flat worm) โครโมโซม-บีหายไปจากเซลล
รางกายของตัวเต็มวัย แตคงอยูไดในเนื้อเยื่อรังไข ในทางตรงกันขามสิ่งมีชีวิตหลายชนิดมีจํานวน
โครโมโซม-บีที่คงที่ เชนหญาบางชนิด
ในพืชพบโครโมโซม-บี เฉพาะในพืชชั้นสูงพวก Angiosperms มากกวา 475 ชนิด 163
สกุล และ 42 ตระกูล ในสัตวมีรายงานวาพบโครโมโซม-บีในหนอน (flat worm) หอยทาก ตั๊กแตน
แมลงเตา และแมลงพวก Diptera โครโมโซม-บีพบนอยมากในสัตวที่มีกระดูกสันหลัง
9.11.3 พฤติกรรมของโครโมโซม-บีในระหวางการแบงเซลลแบบไมโอซิส
โครโมโซม-บีไมไดเปนโครโมโซมคูเหมือนของโครโมโซม-เอ ดังนั้นในระหวางการ
แบงเซลลแบบไมโอซิสโครโมโซม-บีจึงไมจับคูกับโครโมโซม-เอ แตจะจับกันเอง อยางไรก็ตาม
ประสิทธิภาพในการจับคูไมสูงเทากับการจับคูระหวางโครโมโซม-เอดวยกัน ถึงแมวาโครโมโซม-บี
จะไมมาจับคูกันแตก็สามารถแยกตัวออกจากกันตามปกติในระยะอะนาเฟส I และอะนาเฟส II
อยางไรก็ตามในตั๊กแตน (Locusta speltoides) พบวา โครโมโซม-บีที่ไมจับคูกัน (univalent) จะไม
เคลื่อนที่เขาสูขั้วเซลลในระยะอะนาเฟสจึงถูกทิ้งใหอยูในเซลลซึ่งทําใหเกิดการสูญเสียโครโมโซม-บี
ถึง 20 % นอกจากนี้ในบางครั้งโครโมโซม-บีที่ไมมาจับคูกันไมยอมแยกออกจากกันไปยังขั้วทั้งสอง
ของเซลล แตจะอยูติดกันและเคลื่อนตัวไปดวยกันยังขั้วใดขั้วหนึ่ง เรียกปรากฏการณนี้วา นอนดิสจัง
ชัน (non-disjunction) ภายหลังการผสมพันธุอาจเกิดการรวมกันระหวางโครโมโซม-บี ทําใหจํานวน
โครโมโซม-บีในประชากรชั่วตอไปเพิ่มขึ้น ในขาวโพดโครโมโซม-บีจะไมสูญหายไปในระหวางการ
แบงเซลลแบบไมโอซิส แตในพืชอื่นโครโมโซม-บีมักจะหายไป