Page 104 -
P. 104
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
100
9.9 โครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลาย
โครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรหนึ่งอันอยูตรงปลายแขนขางใดขางหนึ่ง (telocentric
chromosome) โดยปกติจะไมพบเกิดขึ้นในธรรมชาติ เกิดจากการแบงตัวที่ผิดปกติของเซนโตรเมียร
โดยในระหวางการแบงเซลลแบบไมโตซิสเซนโตรเมียรมีการแบงตัวตามขวางแทนที่จะแบงทางยาว
ตามปกติ (รูปที่ 9.10) ทําใหไดโครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลาย 2 แทง ซึ่งไมคงที่และมักจะ
หายไปภายหลังจากที่มีการแบงเซลล 2-3 ครั้ง อยางไรก็ตามโครโมโซมดังกลาวจะคงตัวอยูได
ตลอดไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปรางเปนโครโมโซมที่มีแขนทั้งสองขางเหมือนกัน โดยโครโมโซมที่
มีแขนทั้งสองขางเหมือนกันเกิดขึ้นเมื่อโครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลายมีการสรางจําลอง
แบบโครโมโซมใหมในระยะอินเตอรเฟส และแขนโครมาติดทั้งสองที่ไดไมแยกออกจากกัน แตจะอยู
ติดกันตรงเซนโตรเมียรครึ่งอันนั้น ตอมาแขนโครมาติดทั้งสองจะกางออกจากกันทําใหไดโครโมโซม
ที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงกลาง และมีแขนทั้งสองขางเหมือนกัน
รูปที่ 9.10 ไดอะแกรมแสดงกําเนิดของโครโมโมโซมที่มีแขนทั้งสองขางเหมือนกัน (isochromosome)
โครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลายมีรายงานวาพบในขาวโพด ขาวสาลี ฝาย และ
มะเขือเทศ แตที่พบในขาวโพดมักไมคงที่ สวนที่พบในขาวสาลีจะคงที่มากกวา Sear (1969) ไดใช
ประโยชนโครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลายในการทําแผนที่ยีนของขาวสาลี ปจจุบันขาวสาลีมี
โครโมโซมที่มีเซนโตรเมียรอยูตรงปลายเกือบครบทั้ง 42 แขนของโครโมโซม สวนใหญถูกเก็บรักษา
ไวในรูปของสายพันธุไดเทโลโซมิค (ditelosomic line) ซึ่งในขาวสาลี (2n = 42) สายพันธุไดเทโลโซ