Page 100 -
P. 100
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
96
9.7 โครโมโซมแลมบรัช
โครโมโซมแลมบรัช (lampbrus chromosome) เปนโครโมโซมที่มีขนาดใหญมาก (giant
chromosome) อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะดิพโพลทีนของการแบงเซลลแบบไมโอซิส พบ
โครโมโซมแลมบรัชในนิวเคลียสของไขของสัตวมีกระดูกสันหลังและไมมีกระดูกสันหลัง เชน ปลา
นก และสัตวเลื้อยคลาน โครโมโซมแลมบรัชมีขนาดยาวกวาแตมีเสนผาศูนยกลางสั้นกวาโครโมโซม
โพลีทีน สามารถสังเกตเห็นไดอยางชัดเจนที่ระยะดิพโพลทีนเมื่อโครโมโซมมาจับคูกันเปนไบวา
เลนต ไบวาเลนตของโครโมโซมแลมบรัชจะยอมติดสีเขม ทําใหมองเห็นไคแอสมาและหวงโครมาติน
(chromatin loop) บาง ๆ จํานวนมากอยูตั้งฉากกับโครโมโซมตลอดความยาวของสายโครโมโซม (รูป
ที่ 9.6) หวงโครมาตินบนเสนสายโครโมโซมแลมบรัชทําหนาที่คลายคลึงกับพัฟของโครโมโซมโพลี
ทีน แตกตางกันตรงที่พัฟประกอบดวยหวงดีเอ็นเอ (DNA loop) ที่เหมือน ๆ กันจํานวนพัน ๆ หวง ซึ่ง
มีกําเนิดมาจากหนึ่งโครโมเมียร สวนโครโมโซมแลมบรัชนั้นแตละหวงก็คือ หนึ่งโครโมเมียรที่ยื่น
ออกมาเปนหวงมีรูปราง และขนาดใหญเล็กแตกตางกันไป (รูปที่ 9.7)
แตละคูของหวงโครมาตินบนโครโมโซมแลมบรัชจะมีรูปรางแตกตางกันไป แตโดยปกติ
หวงที่ดานหนึ่งจะหนากวาอีกดานหนึ่ง เนื่องจากมีการสะสมอารเอ็นเอมากกวา หลักฐานอันนี้แสดงวา
หวงบนโครโมโซมแลมบรัชคือ หนวยของยีนที่ทําหนาที่ แตละหวงมีการถอดรหัส (transcription)
ของเอม-อารเอ็นเอเกิดขึ้น
รูปที่ 9.6 ภาพถายแสดงโครโมโซมแลมบรัช (lampbrush chromosome) คูเหมือน 1 คู ซึ่งสกัดไดมา
จากไขของตัวนิวต (newt) โดยโครโมโซมทั้งสองไขวกันตรงจุดที่เกิดไคแอสมา และขนฟู ๆ
ที่เห็นคือหวงโครมาติน