Page 103 -
P. 103
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
99
โครโมโซมวงแหวนนอกจากจะพบในสิ่งมีชีวิตขั้นต่ําแลวยังพบบอย ๆ ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง
ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสรางของโครโมโซม โดยปกติโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะ
ไมเปนวงแหวนเนื่องจากที่ปลายทั้งสองของโครโมโซมมีเทโลเมียรคอยปองกันไมใหแขนทั้งสองมา
เชื่อมตอกันเปนโครโมโซมวงแหวน โครโมโซมวงแหวนที่พบในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ไดแก คน แมลงหวี่
และพืชบางชนิด โครโมโซมวงแหวนในขาวโพดไดรับการศึกษามากที่สุด โครโมโซมวงแหวนเกิด
จากการเชื่อมตอกันระหวางปลายที่แตกหักทั้งสองของโครโมโซม (ABC. DEFGHI) (รูปที่ 9.9) ทําให
ไดโครโมโซมวงแหวนที่มีเซนโตรเมียร 1 วง (BC. DEFG) กับชิ้นสวนที่แตกหักแลวมาเชื่อมตอกัน 1
ชิ้น (AHI) ซึ่งไมมีเซนโตรเมียร แตชิ้นสวนที่แตกหักนี้มักจะสูญหายไปในที่สุด เนื่องจากโครโมโซม
วงแหวนมีชิ้นสวนโครโมโซมตรงปลายขาดหายไป จึงทําใหอวัยวะหรือเนื่อเยื่อที่พัฒนามาจากเซลล
ดังกลาวมีพันธุกรรมเปนแบบเฮตเทอโรไซกัส ประกอบดวยโครโมโซมปกติ (ABC. DEFGHI) และ
โครโมโซมวงแหวนที่มีชิ้นสวนขาดหายไป (BC. DEFG) โครโมโซมวงแหวนมักจะไมคงที่ใน
ระหวางการแบงเซลลแบบไมโอซิส เชน ในขาวโพดโครโมโซมวงแหวนจะเปลี่ยนแปลงไปมีขนาด
เพิ่มขึ้นเปนสองเทา และมีเซนโตรเมียร 2 อัน ซึ่งมักจะแตกหักไปในระยะอะนาเฟส แตในการแบง
เซลลแบบไมโตซิสโครโมโซมวงแหวนสามารถสรางโครโมโซมวงแหวนอีกอันหนึ่งที่มีขนาดเทากัน
และสามารถสงผานไปยังเซลลลูกได
รูปที่ 9.9 ไดอะแกรมแสดงกําเนิดของโครโมโซมวงแหวนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง