Page 110 -
P. 110
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
106
บทที่ 10
การขาดหายไปของชิ้นสวนโครโมโซม
(Chromosome Deletion)
10.1 คํานํา
การเปลี่ยนแปลงในโครงสรางของโครโมโซมสามารถแบงออกไดเปน 4 แบบ คือ 1) การ
ขาดหายไปของชิ้นสวนโครโมโซม (deletion) 2) การเพิ่มขึ้นของชิ้นสวนโครโมโซม (duplication)
3) การตอกลับทิศทางของชิ้นสวนในโครโมโซม (inversion) และ 4) การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวาง
โครโมโซมที่มิไดเปนคูกัน (translocation) การเปลี่ยนแปลงในโครงสรางโครโมโซมแบบที่ 1 และ 3
นั้นเกี่ยวของกับการแตกหักของโครโมโซมคูใดคูหนึ่งเทานั้น สวนการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ 2 และ 4
นั้นอาจเกี่ยวของกับแตกหักของโครโมโซมมากกวา 1 คู
10.2 สมมติฐานการแตกหัก เชื่อมตอ และแลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครโมโซม
การเปลี่ยนแปลงในโครงสรางของโครโมโซมแบบตาง ๆ มักจะเกิดขึ้นจากการแตกหัก
(breakage) ของโครโมโซม และการเชื่อมตอ (reunion) ระหวางโครโมโซมที่แตกหัก โดย
นักวิทยาศาสตรกลุมหนึ่งไดตั้งสมมุติฐานการแตกหักและเชื่อมตอ (breakage-reunion hypothesis) ขึ้น
เพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงโครงสรางของโครโมโซม สมมุติฐานนี้กลาววา การแตกหักของ
โครโมโซมอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเปนผลจากการใชสิ่งกอกลายพันธุ ถาโครโมโซมที่เกิด
จากการแตกหักไดรับการซอมแซม (repair) ก็จะกลับคืนสูสภาพดังเดิม เรียกปรากฏการณนี้วา
restitution แตถาสวนที่แตกหักของโครโมโซมไมไดรับการซอมแซมก็จะเกิดการเชื่อมตอกัน
(reunion) โดยปลายที่แตกหักอาจเชื่อมตอกันเองหรือเชื่อมตอกับโครโมโซมอื่นที่แตกหัก ทําใหเกิด
การจัดเรียงตัวของโครโมโซมแบบใหมขึ้น ถาไมมาเชื่อมตอกันชิ้นสวนที่ไมมีเซนโตรเมียรจะหายไป
ตอมามีนักวิทยาศาสตรอีกกลุมหนึ่งไดเสนอสมมุติฐานใหมชื่อวา สมมุติฐานการ
แลกเปลี่ยนชิ้นสวนโครโมโซม (exchange hypothesis) ตามสมมุติฐานนี้ เหตุการณแรกที่ทําให
โครโมโซมมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสรางไมใชการแตกหักของโครโมโซม แตเปนการเกิดรอยแผล
(lesion) ขึ้นที่โครโมโซม (รูปที่ 10.1A) บริเวณที่เกิดรอยแผลสามารถสังเกตุไดจากชองวาง (gap) ที่
ยอมไมติดสี ซึ่งจะเห็นไดอยางชัดเจนในระยะอะนาเฟส การเกิดรอยแผลไมไดทําใหชิ้นสวน
โครโมโซมเกิดการสูญหาย เนื่องจากตรงที่เกิดรอยแผลโครโมโซมยังไมขาดจากกันและแนวของ
ปลายหักทั้งสองของโครโมโซมยังอยูในแนวเดียวกัน ทั้งนี้อาจเปนเพราะยังมีสายใยโครมาตินยึดอยู
บาง ๆ ซึ่งตรงกันขามกับการแตกหักโครโมโซมจะขาดจากกันโดยสิ้นเชิง และแนวของปลายหักไมอยู
ในแนวเดียวกัน เหตุการณที่สองที่เกิดขึ้นตามมา คือ การเริ่มตนแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวาง
โครโมโซม ซึ่งจะเกิดขึ้นตรงบริเวณที่เกิดรอยแผล (รูปที่ 10.1 B) หลังจากโครโมโซมเตรียมพรอมที่