Page 69 -
P. 69
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
เป็นอยู่ร้ายแรงขึ้น อย่างไรก็ตามความรุนแรงก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงโครงการด้านสุขภาพที่มีอยู่
ความเสี่ยงของประชาชนต่อโรคที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ไข้มาลาเรีย เป็นต้น
3.2 แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.2.1 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศภูเขา
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของภูเขานั้นๆ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งแนวภูเขาที่เป็นเทือกเขายาว และมีความสูงมากๆ เทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นก าแพงธรรมชาติกั้นเมฆฝน
ด้านที่ได้รับลมจากทะเลจะเป็นบริเวณที่มีฝนตกสม่ าเสมอท าให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปัญหาการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง อาจท าให้เกิดอุทกภัย ความแห้งแล้ง เป็นสาเหตุ
ท าให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศภูเขาซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับระบบ
ธรรมชาติจากพื้นที่ต้นน้ าถึงพื้นที่ปลายน้ า การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อ
ระบบนิเวศภูเขา จึงเป็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ลุ่มน้ าด้วย
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นเพราะสาเหตุ หรือตัวการส าคัญคือ กิจกรรมมนุษย์ที่เร่งให้เกิด
ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศนั่นเอง เช่น การเผาป่า การใช้พลังฟอสซิลในภาคขนส่ง เป็นต้น นอกจากนั้น
การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้ยังเกิดจากการรบกวนโดยกิจกรรมของมนุษย์โดยตรง เช่น การเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้
เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 3-1
ศูนย์วิจัยป่าไม้ (2552) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศย่อมท าให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยและสิ่งมีชีวิตหรือความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นส่วนประกอบและแสดงลักษณะของ
ป่าไม้ จนอาจท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าไม้จากชนิดหนึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ ท าให้บริการที่จะได้รับจาก
ระบบนิเวศ (ecosystem service) เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยทั่วไปป่าในเขตอบอุ่น (boreal forest) แถบขั้วโลก
เหนือมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายไปบริเวณที่มีละติจูด (latitude) สูงขึ้น และระดับความสูง (elevation) ที่สูงขึ้นไปใน
ป่าเขตหนาว (tundra) ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของป่าเขตร้อนในละติจูดที่ต่ าลงมายังไม่ชัดเจนนัก เนื่องจาก
ขอบเขตรอยต่อระหว่างป่าไม้ และทะเลทรายยังไม่สามารถพยากรณ์เพื่อแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม
ในทุกๆ ภูมิภาคของโลกมีแนวโน้มของการเกิดป่าผลัดใบ (deciduous forest) ขึ้นทดแทนป่าไม่ผลัดใบ (evergreen
forest) โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจาก
ความแห้งแล้งได้ง่าย ในขณะที่ระบบนิเวศป่าเขตร้อนในแถบอะเมซอนได้รับผลกระทบโดยตรงจากปริมาณฝนที่ลดลง
ท าให้ป่าไม่ผลัดใบในบริเวณเขตรอยต่อมีแนวโน้มเกิดเป็นป่าผลัดใบและทุ่งหญ้าได้ตามล าดับ
3-6