Page 64 -
P. 64
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
บทที่ 3
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.1 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.1.1 ความหมายและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework
Convention on Climate Change-UNFCCC) ได้ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของภูมิอากาศที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันท าให้ส่วนประกอบ
ของบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดจากก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ก๊าซเรือนกระจกมีคุณสมบัติ
ในการดูดกลืนความร้อน ท าให้ความร้อนไม่สามารถระบายออกไปนอกบรรยากาศโลกได้ ท าให้โลกร้อนขึ้นจาก
ปรากฎการณ์เรือนกระจก "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก
กระท าตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่
ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก
จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ใน
ปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วง
อินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดี พื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพ
ภูมิอากาศของโลก และสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย ก๊าซดังกล่าว ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน CFCs และ
ไนตรัสออกไซด์ นอกจากนั้น ยังมีก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่ไม่ได้มีอยู่ในธรรมชาติ แต่เป็นสารสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นใน
อุตสาหกรรม เช่น Perfluorocarbons (PFDs) Hydrofluorocarbons (HFCs) และ Sulfur Hexafluoride (SF )
6
เป็นต้น
ก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีอายุและแผ่รังสีความร้อนแตกต่างกัน เรียกว่า ศักยภาพในการท าให้
โลกร้อน (Global Warming Potentials- GWPs) ซึ่งหมายถึงความสามารถของก๊าซเรือนกระจกใดๆ ในการท าให้เกิด
ความอบอุ่น และเมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในน้ าหนักเท่ากัน พบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO )
2
เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุด และมีผลท าให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุด
ในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO ส่วนมากเกิดจากการกระท าของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง
2
3-1