Page 66 -
P. 66
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
3.1.2 การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย
ข้อมูลการคาดการณ์สภาพอากาศในอนาคตนี้ได้สรุปมาจากการจ าลองสถานการณ์สภาพภูมิอากาศ
อนาคตในโครงการการจ าลองสภาพภูมิอากาศอนาคตส าหรับประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งเป็นผลมาจาก
ความร่วมมือของศูนย์เครือข่ายและ The Met Office Hadley Center for Climate Change, UK ภายใต้
การสนับสนุนเงินวิจัยจาก Asia-Pacific Network for Global Change Research (APN) และส านักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีระยะเวลาด าเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551 ใช้แบบจ าลองทางคณิตศาสตร์
PRECIS (Providing Regional Climates for Impacts Studies) ภายใต้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงก๊าซเรือนกระจก
ในบรรยากาศ 3 แนวทาง กล่าวคือ
แนวทาง A2 คือ แนวทางที่คล้ายกับการพัฒนาในโลกที่ผ่านมาในอดีตถึงยุคปัจจุบัน เป็นโลกที่มี
การเติบโตทางเศรษฐกิจ มากกว่าความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
แนวทาง B2 คือ แนวทางการพัฒนาแบบสมดุล โดยเปลี่ยนแปลงให้มีการพัฒนาควบคู่ไปกับการดูแล
รักษาธรรมชาติอย่างยั่งยืนเน้นการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
แนวทาง A1B คือ แนวทางการพัฒนาที่มีการใช้พลังงานอย่างผสมผสาน สมดุลทุกแหล่ง กล่าวคือ
มีการน าพลังงานชีวมวลมาใช้อย่างผสมผสานและสมดุลกับแหล่งพลังงานอื่นๆ
ทั้งนี้ ภาพการมองแนวโน้มในอนาคตทั้ง 3 แนวทางนี้ เป็นการจ าลองเหตุการณ์ที่มีโอกาสของ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูง (A2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบปานกลาง (A1B1) และการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อย (B2) ในการวิเคราะห์สภาพอากาศในแต่ละแนวทางเลือกใช้ผลจากแบบจ าลอง 4
รายการ คือ ปริมาณน้ าฝนรายวัน อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ าสุด อุณหภูมิเฉลี่ยรายวัน ทิศทาง และความเร็วลมรายวัน
โดยแบ่งช่วงการศึกษาเป็น 4 คาบ คาบละ 30 ปี คือ ปี ค.ศ. 1980-2009 ซึ่งก าหนดเป็นปีฐานของการศึกษา
(baseline) และปีอนาคต 3 ช่วงเวลาคือ ปี ค.ศ. 2010-2039 ค.ศ. 2040-2069 และ ค.ศ. 2070-2099 ซึ่งผลของ
การคาดการณ์สภาพภูมิอากาศล่วงหน้า มีดังนี้
ปริมาณน ้าฝน ผลสรุปได้ว่ามีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายปีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ
ไทยทั้งด้านปริมาณและการกระจายตัว ส่วนจ านวนวันที่มีฝนตกในรอบปีเฉลี่ยพบว่ายังใกล้เคียงที่เคยเป็นมาในอดีต
แสดงว่า ความยาวนานของฤดูฝนยังคงเป็นเช่นเดิม แต่ปริมาณฝนของแต่ละปีเกือบทุกพื้นที่จะเพิ่มขึ้น จึงอาจบ่งชี้
ได้ว่ามีโอกาสที่ฝนจะตกหนักขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงต่อภาวะน้ าท่วมฉับพลัน น้ าหลาก
และภัยที่จะมากับน้ าหลากอีกหลายชนิด
3-3