Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
การรบกวนจากกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ
ของมนุษย์
ระบบนิเวศป่าไม้
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า
ดิน
ภาพที่ 3-1 กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่
มีต่อแหล่งธรรมชาติภูเขา
จากการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศภูเขาที่ด าเนินการโดย
ศูนย์วิจัยป่าไม้ (ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2556) พบว่า ดอยสุเทพ-ปุยอยู่
ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างชัดเจน โดยมีแนวโน้มที่ภูมิอากาศจะร้อนและแห้งแล้งมากขึ้นใน
อนาคต ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสืบต่อพันธุ์ของ
พันธุ์พืชบริเวณรอยต่อป่า (ecotone) พืชในพื้นที่รอยต่อของป่าเต็งรังและป่าดิบเขาระดับต่ า บริเวณอุทยานแห่งชาติ
ดอยสุเทพ-ปุย ได้แก่ ก่อตาควาย ยางเหียง ก้าว รักน้ าเกลี้ยง แข้งกวางดงและก่อเดือย เป็นต้น สามารถใช้เป็นดัชนี
ชี้วัดการเปลี่ยนแปลงผลกระทบที่เกิดขึ้นทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดี อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นท าให้ไม้ใน
กลุ่มไม่ผลัดใบมีโอกาสตั้งตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มพืชผลัดใบในป่าดิบเขาระดับต่ าอาจลดประชากรลงในบริเวณเดิม
และอาจถอยร่นขึ้นสู่ระดับที่สูงไปเรื่อยๆ
ส าหรับประเทศไทย กัณฑรีย์ (2548) อ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยป่าไม้ (2552) ได้รวบรวมการศึกษา
แบบจ าลองภาพเหตุการณ์ภูมิอากาศ (climate change scenario) โดยน าผลลัพธ์ของ GCMs มาพัฒนาโดยเลือก
3 แบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือ UK 82, UKMO และ GISS มาท าการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ าฝน
และอุณหภูมิในพื้นที่ของประเทศไทย โดยทุกแบบจ าลองแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยจาก 21.5–27.5
องศาเซลเซียส เป็น 25–32 องศาเซลเซียสโดยประมาณ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด
3-7