Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                               รายงานฉบับสมบูรณ์  กันยายน
                                     โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                                ๒๕๕๗
                       ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


               การสร้างก๊าซเรือนกระจกอันเป็นผลท าให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงมากขึ้น และสามารถรับมือกับความ
               เสี่ยงต่างๆ ได้เหมาะสมที่สุด


               3.3    การเตรียมรับมือ ปรับตัว และป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



                     การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายถึง การปรับระบบธรรมชาติหรือระบบมนุษย์

               เพื่อตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป หรือคาดว่าจะเปลี่ยนไป และเพื่อตอบสนองต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก
               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจท าอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน การปรับตัวเป็นกระบวนการซึ่งมี

               การพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ และน าไปปฏิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือพลิกวิกฤติ

               ให้เป็นโอกาส (UNDP, 2004)


                     3.3.1  แนวทางหลักส้าหรับการปรับตัว (UNDP, 2005) มีดังนี้


                           -  น าการปรับตัวไปอยู่ในบริบทของการพัฒนาด้านต่างๆ

                           -  น าประสบการณ์การปรับตัวปัจจุบันมาประยุกต์ส าหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

                           -  ต้องตระหนักว่า การปรับตัวเกิดขึ้นได้ในทุกระดับ เช่น การวางนโยบายหรือกลยุทธ์มักเกิดขึ้นใน

                              ระดับประเทศ แต่การปฏิบัติเน้นที่ระดับท้องถิ่น

                           -  ตระหนักว่าการปรับตัวเป็นกระบวนการไม่หยุดนิ่ง
                           -  การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับแหล่งภูเขา ควรด าเนินการทั้งด้าน

                              เทคโนโลยี การจัดการ นโยบาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ


                     ดังนั้น เพื่อลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงจ าเป็นต้องสร้างชุมชนและปัจเจกบุคคล

               ให้มีขีดความสามารถในการปรับตัว โดยเฉพาะในกลุ่มคนเปราะบาง ต้องลดการเปิดรับและความอ่อนไหวต่อ

               ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงโครงการพัฒนาทั้งหลาย จะต้องไม่ไปเพิ่มความเปราะบางให้

               มากขึ้น กระบวนการดังกล่าวนี้ เรียกว่า กระบวนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งคณะกรรมการ

               ระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ให้ค านิยามไว้ว่า เป็น “การปรับระบบของมนุษย์
               และธรรมชาติ เพื่อตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ปรากฎอยู่หรือที่คาดการณ์ไว้

               หรือผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อบรรเทาความเสียหายให้เบาบางลง หรือเพื่อใช้โอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้ให้

               เกิดประโยชน์สูงสุด”


                     การปรับตัวของมนุษย์เป็นกระบวนการที่ต้องดึงการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับและทุกภาคส่วน

               ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ต้องมีความเข้าใจถึง

               ความเปราะบางของปัจเจกบุคคล ครัวเรือน และชุมชน จากนั้นจึงออกแบบยุทธศาสตร์การปรับตัวเพื่อด าเนินการ



                                                            3-11
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79