Page 71 -
P. 71

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                               รายงานฉบับสมบูรณ์  กันยายน
                                     โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                                ๒๕๕๗
                       ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


               ประมาณ 2.5 องศาเซลเซียส ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตกเพิ่มขึ้น 3-3.5 องศาเซลเซียส ส าหรับปริมาณ
               น้ าฝนมีการกระจายแตกต่างจากปีฐาน (base  case)  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือปริมาณน้ าฝนไม่เพิ่มขึ้น

               ส่วนภาคใต้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40  และภาคอื่นๆ มีปริมาณน้ าฝนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 จากแบบจ าลอง

               เหตุการณ์ภูมิอากาศดังกล่าวข้างต้นท าให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้ม (ความเป็นไปได้) ของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้

               ในประเทศไทย และการก าหนดพื้นที่วิกฤติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change hot spot) ของ

               ประเทศไทย ซึ่งพื้นที่วิกฤติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเนื่องจาก

               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีปริมาณน้ าฝนและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง (ภาพที่ 3-2)  โดยพบว่า พื้นที่ของ
               ประเทศไทยมีความแห้งแล้งเพิ่มขึ้น   แต่ผลกระทบในแต่ละพื้นที่จะไม่เท่ากัน พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก

               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมาก จะท าให้โครงสร้างป่าเปลี่ยนแปลงไปจนท าให้ระบบนิเวศป่าไม้ชนิดหนึ่ง

               เปลี่ยนไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง และผลผลิตป่าไม้ลดลง กอปรกับอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของประเทศ

               ไทยอยู่ในลักษณะกระจัดกระจาย  ฉะนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะท าให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายจาก

               ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไม่ได้  ดังนั้น สิ่งที่จะต้องท าเพื่อแก้ไข  คือ การเชื่อมพื้นที่ป่าโดยสร้างเส้นทางเดิน (corridor)

               ให้สัตว์อพยพ รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมทั้งในและนอกพื้นที่อาศัย


                          นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์หลายอย่างที่ชี้ให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางชีพลักษณ์ของพืช
               โดยพืชหลายชนิดออกดอกออกผลเร็วขึ้นตามสภาพอากาศในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่อบอุ่นเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้พืชเกษตร

               หลายชนิดได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยท าให้ความสมบูรณ์ของละอองเรณูลดลง แต่ใน

               ระบบนิเวศป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางชีพลักษณ์เหล่านี้นอกจากจะมีผลต่อความอยู่รอดที่พืชเหล่านี้ต้อง

               ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อพฤติกรรมของสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่กิน

               พืชเหล่านี้เป็นอาหาร

























                                                             3-8
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76