Page 68 -
P. 68

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                               รายงานฉบับสมบูรณ์  กันยายน
                                     โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                                ๒๕๕๗
                       ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


               พืชพรรณในป่า รวมถึงความสมบูรณ์ของป่าไม้ในประเทศไทยในอนาคตด้วย การศึกษาดังกล่าวได้ใช้วิธีการจ าแนก
               ป่าไม้ตามวิธีการของ Holdrige ซึ่งแตกต่างจากวิธีการจ าแนกป่าที่ใช้ในประเทศไทย แต่ก็สามารถจะเห็นแนวโน้มของ

               การเปลี่ยนแปลงได้


                            2)  การเกษตร  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรทั้ง

               ทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อปริมาณและ

               รูปแบบของฝน รวมถึงแหล่งน้ า การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ าทะเล ไปจนถึงการแปรปรวนของระบบสภาพภูมิอากาศ

               เช่น อาจเกิดภาวะการขาดแคลนน้ าเนื่องจากปริมาณน้ าฝนลดลง หรือการเปลี่ยนแปลงในฤดูกาลของฝนก็จะส่งผลต่อ

               ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร  นอกจากนี้การรุกล้ าของน้ าเค็ม  และเหตุการณ์น้ าท่วมที่เกิดบ่อยครั้งจากการที่

               ระดับน้ าทะเลสูงขึ้นไม่เพียงแต่จะท าให้พื้นที่การเกษตรที่มีอยู่ลดลง  แต่ยังส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลงด้วย
               การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เป็นสองเท่า อาจจะมีผลให้การสังเคราะห์แสงของพืชเพิ่มขึ้น

               รวมทั้งผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย ผลผลิตและการผลิตทางด้านการเกษตร อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อม จากการเพิ่มขึ้น

               ของแมลงศัตรูพืชที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น และแพร่กระจายไปทั่ว


                            3)  ทรัพยากรน ้า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรน้ านั้นค่อนข้างจะรุนแรงมาก หากก๊าซ

               คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงเป็นสองเท่า  พบว่าปริมาณฝนและน้ าท่าบริเวณลุ่มน้ าเจ้าพระยาจะลดลงอย่างมาก

               แม้เพียงอุณหภูมิที่จ าลองขึ้นมาจากการใช้แบบจ าลองสภาพภูมิอากาศปกติจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
               หากก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ปริมาณน้ าท่าแต่ละปี อาจจะลดลงถึงร้อยละ 34-44 ในอีก 50-100

               ปีข้างหน้า กระแสน้ าที่จะไหลเข้าสู่ลุ่มน้ าเจ้าพระยาก็จะลดลงด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ปริมาณน้ าฝนสูงสุด (มากกว่า

               2,000 มิลลิเมตร) ที่เกิดขึ้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดน้ าท่วมอย่างรุนแรง


                            4)  ทรัพยากรชายฝั่ง  จากการศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดกับบริเวณชายฝั่งของประเทศไทย

               พบว่า  การเปลี่ยนแปลงต่อพื้นที่ชายฝั่งจะเกิดขึ้นกับบริเวณที่เป็นหาดทรายมากที่สุด  พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล

               ภาคตะวันออก  จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด  พื้นที่ป่าชายเลนจะถูกซัดเข้าไปบนฝั่งลึกเข้าไป  และอาจจะลด

               จ านวนลงในที่สุด เพราะป่าชายเลนไม่สามารถอยู่แข่งกับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นอยู่ได้ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง

               ด้านตะวันออกของประเทศ  นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อระบบย่อยๆ ลงไป
               ไม่ว่าจะเป็นปะการัง  การประมง  ป่าชายเลน  ชายหาด  และชายฝั่ง  ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้มีการด าเนิน

               การศึกษาวิจัยในเรื่องเหล่านี้


                            5) สุขอนามัย ผลกระทบทางอ้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็คือ เชื้อโรค

               และการระบาดของเชื้อโรคซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการที่อุณหภูมิสูงขึ้น  และอาจก่อให้เกิดการระบาดของโรคบางชนิด

               การสัมผัสกับความร้อนโดยตรง  อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยหรือความเครียดได้  ซึ่งอาจจะท าให้ความเจ็บป่วยที่



                                                             3-5
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73