Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
อุณหภูมิสูงสุด ภายใต้สถานการณ์แบบ A2 พบว่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในประเทศไทยในช่วงต้น
ศตวรรษไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปลายศตวรรษก่อนมากนัก แต่ในช่วงกลางและปลายศตวรรษเป็นต้นไป
มีแนวโน้มอุณหภูมิสูงสุดเพิ่มขึ้นในทุกภาค ส่วนภายใต้สถานการณ์แบบ B2 ก็มีทิศทางการเพิ่มสูงในเกือบทุกพื้นที่ใน
ประเทศไทยเช่นกัน แต่เพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ต่ ากว่าแบบ A2 เล็กน้อย ในส่วนของระยะเวลาที่มีอากาศร้อนในรอบปี
หรือวันที่มีอุณหภูมิสูงสุดเท่ากับหรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียสนั้น ผลสรุปชี้ให้เห็นว่า จ านวนวันที่มีอากาศร้อน
ยาวนานถึง 5-6 เดือนต่อปี และในบางพื้นที่นานมากถึง 7-8 เดือนต่อปี แสดงให้เห็นว่าฤดูร้อนจะยาวนานขึ้นในเกือบ
ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งอาจยาวนานขึ้นกว่าเดิมถึง 2-3 เดือนในช่วงปลายศตวรรษนี้
อุณหภูมิต่้าสุด ภายใต้สถานการณ์แบบ A2 พบว่า พื้นที่ทั่วประเทศไทยมีแนวโน้มของอุณหภูมิ
รายวันต่ าสุดเฉลี่ยจะสูงขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3-4 องศาเซลเซียสในช่วงปลายศตวรรษ ส่วนภายใต้สถานการณ์แบบ
B2 อุณหภูมิรายวันต่ าสุดเฉลี่ยจะสูงขึ้นเช่นกัน แต่เป็นไปในระดับที่ต่ ากว่าที่คาดการณ์ได้จากสถานการณ์แบบ A2 คือ
ประมาณ 2-3 องศาเซลเซียส ในส่วนของระยะเวลาที่มีอากาศเย็นในรอบปีโดยเฉลี่ย ในช่วงต้นศตวรรษนี้พื้นที่
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีจ านวนวันที่อุณหภูมิต่ ากว่า 16 องศาเซลเซียส ยาวนานที่สุด
ประมาณ 1-2.5 เดือน แต่ระยะเวลาที่มีอากาศเย็นนี้จะหดสั้นลง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษและเห็นได้
ชัดเจนในช่วงปลายศตวรรษ ภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแบบ A2 ในที่สุดพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ ากว่า 16 องศา
เซลเซียสจะเหลือเพียงบนเทือกเขาบางแห่ง
3.1.3 ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย
จากการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะมีต่อประเทศไทย ซึ่งได้รับ
การสนับสนุนด้านการเงินจาก US Country Studies โดยอาศัยแบบจ าลองที่ระดับความเข้มข้นของ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มเป็นสองเท่าจากระดับปัจจุบัน และเป็นการคาดการณ์ในระยะ 50-100 ปีข้างหน้า
สามารถสรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นใน 5 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ า ชายฝั่ง การเกษตร และสุขภาพ ดังนี้
(ศูนย์วิจัยป่าไม้, 2552)
1) ทรัพยากรป่าไม้ จากการศึกษาเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรป่าไม้ พบว่า
พื้นที่ป่าในประเทศจะยังคงเดิม แต่องค์ประกอบและประเภทของป่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากการศึกษาซึ่งได้
แบ่งประเภทป่าตาม Holdrige Life Zone Classification พบว่า ป่าไม้เขตกึ่งร้อน (Subtropical Life Zone)
จะลดลง ในขณะที่ ป่าเขตร้อน (Tropical Life Zone) ทางตอนใต้ของประเทศ จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณฝนที่
คาดว่าจะสูงขึ้น ป่าแล้งเขตกึ่งร้อน (Subtropical Dry Forests) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของพื้นที่ป่าทั้งประเทศ
จะหายไปและถูกแทนที่โดยป่าแล้งมากเขตร้อน (Tropical Very Dry Forest) การศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอาจจะมีผลกระทบที่ต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงชนิดและการแพร่กระจายของ
3-4