Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
28
โครสร้างพืช
นอกจากที่พบเนื้อเยื่อ epidermis ที่เป็นเซลล์ผิวป้องกันอันตรายให้กับเนื้อเยื่ออื่นๆที่อยู่ภายใน
แล้ว เนื้อเยื่อ epidermis ยังเปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่อื่นอีก เช่น เปลี่ยนแปลงไปเป็น ปากใบ ต่อม และขน
เป็นต้น (ภาพที่ 2.9)
ภาพที่ 2.9 เซลล์ผิว (epidermal cell) เปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่เฉพาะ ก) ปากใบ ข) ต่อมและขน
พาเรนไคมา (parenchyma)
เป็นเนื้อเยื่อที่พบมากที่สุดในโครงสร้างต่างๆของพืช โดยทั่วไปเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการมา
จากเนื้อเยื่อ ground meristem พืช ส่วน พาเรนไคมา ในเนื้อเยื่อท่อล าเลียง เปลี่ยนแปลงมาจาก
procambium และ vascular cambium พาเรนไคมาขณะท าหน้าที่ยังมีชีวิต จึงท าหน้าที่เป็นเซลล์ที่มี
การสังเคราะห์แสง เก็บสะสมอาหาร เป็นต่อมเก็บสารที่พืชสร้างขึ้น บางเซลล์ที่อยู่ในท่อล าเลียงก็ยังท า
หน้าที่ล าเลียงน้ าและอาหารเช่นกัน ลักษณะที่ส าคัญของเนื้อเยื่อพาเรนไคมา คือ
เป็นเซลล์ที่มีชีวิต
มีรูปร่างทรงกลม ทรงกระบอก กลมรี หรือหลายเหลี่ยม
ผนังเซลล์บาง ประกอบด้วย primary wall
มีแวคิวโอลขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ อาจมีการสะสมแป้ง น้ ามัน แทนนิน และผลึก
บางส่วนของเนื้อเยื่อสามารถแบ่งเซลล์ และมีคุณสมบัติเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้เมื่อเกิด
บาดแผล หรือเมื่อเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อ cambium
พาเรนไคมาที่พบบริเวณผิวของล าต้นและใบมักมีคลอโรพลาสอยู่ภายในเซลล์เรียกว่า
chlorenchyma ส่วนพาเรนไคมาของแกน (pith) ในรากและล าต้น มักไม่มีสี ท าหน้าที่เก็บน้ าและอาหาร
นอกจากนี้ ส่วนที่มีการเก็บสะสมอาหารของพาเรนไคมาจะมีเม็ดแป้ง โปรตีน หรือน้ ามันอยู่ภายในเซลล์
เนื่องจากเซลล์มีรูปร่างค่อนข้างกลม เมื่อหลายๆ เซลล์มาอยู่ติดกัน จึงท าให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ