Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
26
โครสร้างพืช
2) complex permanent tissue หมายถึงเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิด ที่มาท า
หน้าที่เฉพาะอย่างที่ส าคัญในพืช ซึ่งได้แก่ กลุ่มท่อน้ า (xylem) และ กลุ่มท่อล าเลียงอาหาร (phloem)
นอกจากนี้อาจแบ่งเนื้อเยื้อพืชตามลักษณะของโครงสร้างพืชซึ่งสามารถแบ่งออก (plant tissue
systems) ได้เป็น 3 ระบบ คือ
1) dermal tissue เป็นระบบเนื้อเยื้อด้านนอกของโครงสร้างพืช ท าหน้าที่ ป้องกันอันตราย
ให้กับพืช ได้แก่ epidermis และ periderm
2) ground tissue เป็นระบบเนื้อเยื้อพืช ท าหน้าที่ สังเคราะห์อาหาร พยุงและกักเก็บอาหาร
ให้แก่พืช ได้แก่ เนื้อเยื้อ epidermis, parenchyma collenchyma และ sclerenchyma ซึ่ง
กระบวนการแมเทบอลิซึมภายในพืชส่วนใหญ่จะเกิดในเนื้อเยื้อเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสังเคราะห์
แสงของพืชที่เนื้อเยื้อ parenchyma ของใบพืช
3) vascular tissue เป็นระบบเนื้อเยื้อพืช ท าหน้าที่ ล าเลียงน้ า ธาตุอาหาร และเคลื่อนย้าย
อาหารที่พืชสร้างขึ้น ให้แก่พืช ได้แก่ เนื้อเยื้อ xylem และ phloem
ส าหรับรายละเอียดของแต่ละชนิดของเนื้อเยื้อเป็นดังนี้
อิพิเดอร์มีส (epidermis)
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของส่วนประกอบพืชขณะที่พืชมีการเติบโตขั้นแรก มีหน้าป้องกัน
อันตรายให้กับเนื้อเยื่อที่อยู่ภายใน ป้องกันการระเหยของน้ า แลกเปลี่ยนแก๊ส ช่วยในการดูดซึมน้ า โดย
ส่วนใหญ่เนื้อเยื่อ epidermis เปลี่ยนแปลงมาจาก protoderm มีลักษณะที่ส าคัญ (ภาพที่ 2.6) คือ
ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ชั้นเดียว ยกเว้นบางชนิดมีมากกว่า 1 ชั้น เช่น ส่วนที่เรียกว่า velamen
ผนังเซลล์บาง และมีเพียงชั้นแรก (primary wall) ผนังด้านนอกหนากว่าด้านอื่น
ผนังเซลล์ประกอบด้วยสารพวกคิวติน โดยเฉพาะด้านนอกของผนังเซลล์ คิวตินที่สะสมอยู่
ด้านนอกซึ่งท าหน้าที่ป้องกันอันตรายเรียกว่า cuticle (ภาพที่ 2.6)
ส่วนประกอบภายในเซลล์มักไม่มีคลอโรพลาส ยกเว้นเซลล์คุม (guard cells) ซึ่งมีคลอโรพ
ลาสอยู่ภายใน (ภาพที่ 2.7)
มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ และมีรงควัตถุอยู่ใน cell sap เห็นเป็นเม็ดสีแดงและน้ าเงิน
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ