Page 27 -
P. 27
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื้อเยื่อพืช
2 (Plant Tissue)
โดยทั่วไปโครงสร้างของพืชประกอบขึ้นมาจากเซลล์รวมกันเข้าเป็นเนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือส่วน
ต่างๆ ของพืช เนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพืชที่มีท่อล าเลียงสามารถจ าแนกได้หลายแบบ โดยอาศัย
ความแตกต่างกันของรูปร่าง โครงสร้าง หน้าที่ ต าแหน่งที่อยู่ ลักษณะของผนังเซลล์ และกิจกรรมทาง
สรีรวิทยาของเนื้อเยื่อเอง ซึ่งสามารถจ าแนกออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic
tissues) และ เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissues หรือ non-meristematic tissues)
เนื้อเยื่อจริญ (meristematic tissues)
เนื้อเยื่อเจริญ หมายถึง เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ก าลังเจริญ และมีการแบ่งเซลล์ ท า
หน้าที่เพิ่มจ านวนเซลล์และก่อให้เกิดการเติบโตทางด้านความสูงและความกว้างของต้นพืช ลักษณะที่
ส าคัญของเนื้อเยื่อเจริญ คือ เซลล์มีขนาดเล็ก ผนังเซลล์มีความหนาไม่สม่ าเสมอ บริเวณผนังบางมีรู
(primary pit field) ประกอบด้วยสารพวกเพคตินและโปรตีนจ านวนมากแต่มีไขมันน้อย ภายในเซลล์มี
นิวเคลียสขนาดใหญ่ พบไซโตพลาสซึมเกือบเต็มเซลล์ ไมโตคอนเดรียมีจ านวนมาก แวคิวโอลมีขนาด
เล็ก และไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ เนื้อเยื่อเจริญอาจแบ่งออกตามต าแหน่งที่อยู่ได้ คือ
1.1 apical meristem เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายสุดของยอด (ภาพที่ 2.1) และ ราก
(ภาพที่ 2.2) ท าหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มความยาวของล าต้นและราก จากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อ
เจริญปลายสุดบริเวณล าต้นหรือราก ที่มีการแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา (promeristem) และเปลี่ยนแปลงไป
เป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นแรก (primary meristem) ก่อให้เกิดเนื้อเยื่อที่จ าเพาะของเนื้อเยื่อเจริญขั้นแรก 3
ระบบ ได้แก่ protoderm, procambium และ ground meristem (ภาพที่ 2.3) เนื้อเยื่อเจริญขั้นแรกนี้มี
การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้เนื้อเยื่อขั้นแรก (primary tissue) โดย protoderm เปลี่ยนแปลงไป
เป็นเนื้อเยื่อถาวร epidermis และ procambium เปลี่ยนแปลงไปเป็น vascular tissue ส่วน ground
meristem เปลี่ยนแปลงไปเป็น ground tissue
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ