Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
25
เนื้อเยื่อพืช
ก ข
ภาพที่ 2.5 เนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบเป็นโครงสร้างพืช ก) เนื้อเยื้อที่ตัดตามยาว (long section) ข)
เนื้อเยื้อที่ตัดตามขวาง (cross section) ซึ่งมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปท าหน้าที่เฉพาะ
ลักษณะที่ส าคัญของเนื้อเยื่อถาวร คือ
ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเต็มที่แล้ว (mature cell) และไม่มีการแบ่งตัว ยกเว้นเมื่อพืชมี
บาดแผล
ผนังเซลล์มีลักษณะหนา มีการสะสมสารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์
เซลล์มีแวคิวโอล ขนาดใหญ่
รูปร่างของเซลล์เปลี่ยนแปลงไปตามหน้าที่เฉพาะของเซลล์
เนื้อเยื่อถาวรอาจจ าแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ ตามลักษณะของเซลล์ที่ประกอบเป็นเนื้อเยื้อ
ถาวร ได้แก่
1) simple permanent tissue หมายถึงเนื้อเยื่อที่ประกอบมาจากกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะ
เหมือนกันหรือมีเพียงเซลล์ชนิดเดียวที่เปลี่ยนแปลงมาเพื่อท าหน้าที่อย่างเดียวกัน บางชนิดประกอบด้วย
เซลล์ที่มีชีวิต (เมื่อเจริญเต็มที่ หรือขณะท าหน้าที่ยังมีโปรโตพลาสซึมอยู่) บางชนิดเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต
โดยในขณะที่ท าหน้าที่จะไม่มีโปรโตพลาสซึม บริเวณที่เคยเป็นโปรโตพลาสซึมจะกลายเป็นที่ว่าง เรียกว่า
lumen (ลูเมน) เนื้อเยื่อเหล่านี้ ได้แก่ อิพิเดอร์มีส (epidermis) พาเรนไคมา (parenchyma) คอเลน
ไคมา (collenchyma) สเคอเลนไคมา (sclerenchyma)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ