Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20
โครสร้างพืช
ในขณะที่เกิดกระบวนการแบ่งนิวเคลียสนั้น จะเกิดการแบ่งส่วนของไซโตพลาสซึมตามมา
เรียกว่า cytokinesis ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางระยะแอนนาเฟส โดยมีการรวมกลุ่มของไมโครทูบูลล์
บริเวณแนวกลางเซลล์เรียกว่า phragmoplast ซึ่งจะเจริญต่อมาเป็น cell plate และมีสารพวกเพคตินมา
สะสมเกิดเป็นชั้น middle lamella เมื่อสิ้นสุดวัฏจักรเซลล์ จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ แต่ละเซลล์มีจ านวน
โครโมโซมเหมือนกันและเท่ากับเซลล์เดิมทุกประการ
สรุป
1. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กและยังท าหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต เซลล์พืชประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด
ที่มีความแตกต่างกันทั้งรูปร่างและองค์ประกอบ จึงท าให้การท าหน้าที่ของเซลล์พืชแตกต่างกันไป
2. โครงสร้างของเซลล์พืชประกอบด้วย 1) ผนังเซลล์ (cell wall) และ 2) โปรโตพลาสซึม
(protoplasm) ซึ่งมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ไซโตพลาสซึม (cytoplasm) และนิวเคลียส
(nucleus)
3. พืชแต่ละชนิดสามารถคงรูปร่างอยู่ได้เนื่องจากมีผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์ องค์ประกอบทางเคมี
ของผนังเซลล์ประกอบด้วย เซลลูโลส เฮมิเซลล์ลูโลส เพคติน และลิกนิน ท าให้ผนังเซลล์ยืดหยุ่น
และคงรูปร่าง โครงสร้างของผนังเซลล์ประกอบด้วย middle lamella ผนังชั้นแรก (primary wall)
และ ผนังชั้นที่สอง (secondary wall) โดยทั่วไปเซลล์พืชอาจมีผนังชั้นแรก หรือ มีการสร้างผนัง
ชั้นที่สองต่อมา ขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์และการท าหน้าที่
4. ภายในไซโตพลาสซึม ประกอบด้วย ออร์แกเนลล์ (organells) หลายชนิดที่ท าหน้าที่เฉพาะใน
กระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์ และ สารเออร์แกสติก (ergastic substaince) ซึ่งเป็นผลิตผล
จากกิจกรรมใน โปรโตพลาส
5. นิวเคลียสมีหน้าที่ส าคัญโดยเป็นแหล่งควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุม
การสร้างโปรตีนของเซลล์ นิวเคลียสประกอบด้วย เยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวคลิโอลัส โครโมโซม และ
ของเหลว
6. การแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการที่ส าคัญของการเจริญเติบโต การพัฒนา และการสืบพันธุ์ของพืช
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงมีวิธีการแบ่งเซลล์ได้ 2 แบบ คือ ไมโตซิส (mitosis) และ ไมโอซิส
(meiosis)
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ