Page 19 -
P. 19

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    พลาสติดทุกชนิดต่างพัฒนามาจาก proplastid     ซึ่งอยู่ในไมโตคอนเดรีย  ดังนั้นจึงมี

            ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และสามารถเปลี่ยนแปลงจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งได้  ทั้งนี้ขึ้นกับ
            กระบวนการเมแทบอลิซึมของพืชในขณะนั้น

                    6)  ไมโครทูบูลล์  (microtubules)  เป็นเส้นใยยาวที่ไม่แตกแขนง มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก

            เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 15-25 nm โครงสร้างเป็นโปรตีนพวก actin และ myosin พบในไซโตพลาสซึม

            บริเวณใกล้ๆ กับพลาสมาเมมเบรน  ท าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสะสมเซลลูโลสบนผนังเซลล์  เกิด
            โครงสร้างให้ไซโตพลาสซึมคงรูปร่าง (cytoskeleton)  นอกจากนี้ยังควบคุมการจัดต าแหน่งของ spindle

            fiber และ cell plate ขณะที่เซลล์ก าลังแบ่งตัว  เพื่อก าหนดระนาบของการแบ่งเซลล์

                    7)  แวคิวโอล  (vacuoles)  เป็นออร์กาเนลอยู่ในไซโตพลาสซึม เซลล์พืชที่เจริญเต็มที่แล้ว จะ

            มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ประมาณ 90% ของเซลล์  โดยมีเยื่อหุ้มเรียกว่า tonoplast  ซึ่งมีคุณสมบัติยอมให้
            น้ าซึมผ่านได้  ภายในแวคิวโอลประกอบด้วยน้ าและสารละลายพวกน้ าตาล กรดอะมิโน โปรตีน เกลือแร่

            และอื่นๆ  ท าหน้าที่เก็บอาหารและของเสียบางชนิด  และช่วยรักษาสมดุลของน้ าภายในเซลล์



            Inclusion หรือ Ergastic substance


                    เป็นสารประกอบที่อยู่ภายในเซลล์ในไซโตพลาสซึมเป็นผลมาจากกระบวนการเมแทบอลิซึมที่
            เกิดขึ้นภายในเซลล์  มีทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว  ที่พบมากที่สุด ได้แก่


                    1)  เม็ดแป้ง (starch grain)   มีลักษณะเป็นของแข็งได้จากการสังเคราะห์แสง  ส่วนใหญ่ถูก
            สร้างในคลอโรพลาส  แล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ  เม็ดแป้งที่สะสมไว้มีลักษณะเป็นชั้นๆ  มีศูนย์กลาง

            การเจริญเรียกว่า hilum    ต่อมาจะเป็นชั้นของเม็ดแป้งที่เรียกว่า lamella    ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรทพวก

            อะไมโลส (amylose) และอะไมโลเพคติน (amylopectin)  เม็ดแป้งจะพบในเซลล์พวกพาเรนไคมาที่ท า
            หน้าที่สะสมอาหาร เช่น หัวเผือก มันฝรั่ง และกล้วย (ภาพที่ 1.11)    บางครั้งเกาะกันเป็นกลุ่มเรียกว่า

            compound grain  เช่น ในเซลล์ของเมล็ดข้าว

                    แป้งเป็นสารที่ไม่ละลายน้ า  แต่พืชสามารถเปลี่ยนแป้งเป็นน้ าตาลซึ่งละลายอยู่ใน cell sap ได้

            จึงท าให้มีการเคลื่อนที่ของแป้งจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่งได้  น้ าตาลที่เคลื่อนย้ายอาจเก็บสะสมในรูป
            ของน้ าตาลเลยก็ได้ เช่น อ้อย หรือแปรสภาพเป็นแป้งและเก็บสะสมไว้









                                                                                  รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24