Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              8
                     โครสร้างพืช


            ของเยื่อหุ้มเซลล์ที่แตกต่างกัน เช่น Danielli-Davson  Model,  Robertson  Model  และ Fluid  Mosaic

            Model

                  Fluid  Mosaic  Model  (ภาพที่ 1.7)  ซึ่งเสนอโดย Singer  และ Nicolson  สรุปได้ว่าเยื่อหุ้มเซลล์
            ประกอบด้วยโมเลกุลของฟอสฟอลิปิดเรียงตัวกันเป็น 2  ชั้น  โดยปลายด้านที่มีประจุอยู่ด้านนอก  และ

            ปลายด้านที่ไม่มีประจุอยู่ด้านในหันเข้าหากันทั้งสองชั้น  โมเลกุลของโปรตีนจะแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุล

            ของฟอสฟอลิปิด และห่อหุ้มอยู่ด้านนอก  ดังนั้นโมเลกุลของโปรตีนและไขมันที่ผนังเยื่อหุ้มเซลล์อาจท า
            ปฏิกริยาต่อกัน  เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  ความหนาของผนังเซลล์ประมาณ 8 nm




















            ภาพที่ 1.7  Fluid  Mosaic  Model  ของเยื่อหุ้มเซลล์พืช เสนอโดย Singer  และ Nicolson

                      (ที่มา: Stern, 1994)

                  เยื่อหุ้มเซลล์ท าหน้าที่แบ่งขอบเขตระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ และควบคุมการผ่านเข้าออก

            ของสารหรือโมเลกุลต่างๆ  มีลักษณะเป็น semi-permeable membrane คือ เลือกให้สาร หรือ อิออนบาง
            ชนิดผ่านเข้าไปได้  การผ่านเข้าไปของสารทางเยื่อหุ้มเซลล์โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานเรียกว่า passive

            transport  แต่ถ้าต้องอาศัยพลังงาน เรียกว่า active transport  เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์เป็นส่วนส าคัญใน

            การเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ  จึงมีการศึกษาวิจัยกันอย่างมากจนถึงปัจจุบัน
                  2.  ไซโตพลาสซึม (cytoplasm)  มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งกึ่งเหลว ประกอบด้วยโปรตีน 15-20%

            น้ า 70-80%  ที่เหลือเป็นพวกเกลือแร่ กรดไขมัน กรดนิวคลีอิค และ อิออน  สารต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับ
            กระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism)  ของเซลล์ เช่น ในการสังเคราะห์แสง และ การหายใจ เป็นต้น

            ไซโตพลาสซึมมีทั้งส่วนที่เป็นออร์กาเนล (organelles) (ภาพที่ 1.1) ซึ่งได้แก่

                  1)  Endoplasmic reticulum (ER)  เป็นส่วนของเซลล์ที่มีลักษณะเป็นท่อที่มีแขนงกระจายอยู่ใน

            ไซโตพลาสซึม  ท่อเหล่านี้ประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน  ER แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกมี


            รศ. ดร. ลิลลี่  กาวีต๊ะ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19