Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ไรโบโซม (ribosome) เกาะติดอยู่จึงมีผิวที่ขรุขระ ท าหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน และอีกประเภทไม่มีไรโบ
โซมเกาะที่ผนังท่อ ท าให้ผิวของ ER เรียบ ท าหน้าที่สร้างสารพวก steroids และดูดซึมไขมัน เนื่องจาก
ER มีลักษณะเป็นท่อจึงท าหน้าที่ในการล าเลียงสารต่างๆ ภายในเซลล์ และเป็นทางเข้าออกของสารด้วย
นอกจากนี้ยังท าหน้าที่สังเคราะห์เอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหายใจของพืชด้วย
2) ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์กาเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม รูปร่างค่อนข้างกลมหรือรี มีขนาดเล็ก
ในเซลล์พืชมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 nm อยู่ติดกับด้านในของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยอาจอยู่ติด
กับ ER หรืออยู่อย่างอิสระในไซโตพลาสซึม นิวเคลียส คลอโรพลาส หรือออร์กาเนลอื่นๆ ไรโบโซม
ประกอบด้วย r-RNA (ribosomal RNA) และโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ อาจพบมีสารอื่นๆ บางชนิด เช่น ไขมัน
แมกนีเซียม แคลเซียม และแมงกานิส ไรโบโซมท าหน้าที่หลักในการสังเคราะห์โปรตีน และในช่วงที่มีการ
สังเคราะห์โปรตีนจะพบไรโบโซมอยู่ติดกับ ER มีลักษณะเป็นเส้นสายเรียกว่า พอลีโซม (polysome)
3) ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ พบเฉพาะใน
eukaryotic cell ที่มีการหายใจเป็นการใช้ออกซิเจน มีรูปร่างหลายแบบ เช่น เป็นแท่งกลม หรือเป็นเส้น
แตกต่างกันไปตามหน้าที่และกิจกรรม ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 1-3 m ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2
ชั้น เยื่อชั้นในจะยื่นเข้าไปมีลักษณะเป็นแผ่นเรียกว่า cristae ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่เก็บเอ็นไซม์และ
ของเหลวต่างๆ เรียกว่า matrix ของเหลวนี้ยังบรรจุด้วย DNA, RNA, ไรโบโซม และโปรตีน
4) Golgi apparatus (Goligi body หรือ Dictyosome) มีชื่อเรียกหลายอย่าง แต่ในเซลล์พืชส่วน
ใหญ่เรียกว่า dictyosome ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในไซโตพลาสซึม มีรูปร่างเป็นถุงแนบซ้อนกันหลายๆ ชั้น
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-10 m ถุงมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับ ER แต่ละชั้นของถุงแบนที่ซ้อนกัน
เรียกว่า cisterna บริเวณปลายมีลักษณะเป็นถุงพองเรียกว่า vesicles ภายในบรรจุของเหลวไว้
dictyosome ท าหน้าที่สร้างสารพวก polysaccharides เช่น เซลลูโลส สร้างผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์
ขณะที่เซลล์ก าลังแบ่งตัวและเจริญเติบโต รวมทั้งการขับสารบางชนิด เช่น เอ็นไซม์ ลิปิด หรือฮอร์โมน
ออกมาจากเซลล์ และท าหน้าที่ร่วมกับ ER ในการสังเคราะห์และขับสาร glycoprotein
5) พลาสติด (plastids) เป็นออร์กาเนลที่พบในไซโตพลาสซึมของเซลล์พืชและสาหร่าย ยกเว้น
ในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ าเงิน (blue-green algae) รูปร่างของพลาสติดอาจมีลักษณะกลมหรือยาวรี มี
เยื่อหุ้ม 2 ชั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2-10 m ขึ้นกับชนิดและอวัยวะของพืช พลาสติดจ าแนก
ออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ