Page 148 -
P. 148
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
142
โครสร้างพืช
testa ซึ่งเป็นเปลือกชั้นนอก มักมีความหนา แข็ง และเหนียว ส่วนเซลล์ชั้นใน หรือ inner integument
จะเปลี่ยนไปเป็นเยื่อบางๆ ของเปลือกหุ้มเมล็ดที่อยู่ด้านใน เรียกว่า tegmen พืชบางชนิดเปลือกหุ้มเมล็ด
เปลี่ยนแปลงมาจาก integument เพียงชั้นเดียว หรือทั้ง 2 ชั้นมาเชื่อมติดกันเป็นชั้นเดียวกันก็ได้ ในพืช
บางชนิดมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่เชื่อมรวมกับเปลือกผล (pericarp) และพืชบางชนิดอาจมีเปลือกหุ้มเมล็ดที่
แห้งและแข็งมาก บนเปลือกหุ้มเมล็ดจะเห็นบางส่วนของออวุลหลงเหลืออยู่หลังการพัฒนาเป็นเมล็ดแล้ว
ซึ่งลักษณะดังกล่าวเช่น รอยแผลของก้านที่เชื่อมระหว่างออวุลและรังไข่ (funiculus) ที่เหลืออยู่เป็นรอย
แผลที่เรียกว่า hilum (ภาพที่ 8.2) ใกล้กับบริเวณรอยแผลนี้จะมีรูเล็กๆ เรียกว่า micropyle ซึ่งแต่เดิมเป็น
ทางเข้าไปในรังไข่ของหลอดเรณู ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับ micropyle จะเห็นเปลือกเมล็ดเป็นสันนูนขึ้นมา
เล็กน้อย เรียกว่า raphe ซึ่งเป็นรอยที่ก้านของออวุลแผ่ออกไปจับกับเปลือกหุ้มเมล็ดโดยการบิดโค้งตัว
ของออวุล และบริเวณปลายสุดของ raphe นี้จะเป็นบริเวณที่มีท่อล าเลียงเรียกว่า chalaza
ภาพที่ 8.2 ลักษณะของเปลือกหุ้มเมล็ด
ในเมล็ดละหุ่ง เปลือกหุ้มเมล็ดมีลักษณะเป็นลายต่างๆ และบริเวณ hilum มีเนื้อเยื่อคล้าย
ฟองน้ า เรียกว่า caruncle ติดอยู่ (ภาพที่ 8.3) ซึ่งเป็นกลุ่มของท่อล าเลียงที่เดิมเป็นส่วนรอยต่อของ
integument และ funiculus และท าหน้าที่อุ้มน้ าเพื่อการงอกของเมล็ด
เมล็ดลิ้นจี่ ล าใย เงาะ และทุเรียน มีส่วนที่เจริญภายนอก (outgrowth) ของส่วน integument ที่
เปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อห่อหุ้มเมล็ดไว้และสามารถน ามาบริโภคได้ เรียกว่า aril ในเมล็ดฝ้ายนั้น ส่วนของ
outer integument จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ขน 2 ชนิด คือ lint hair (ปุยยาว) และ fuzz hair (ปุยสั้น)
ซึ่งเป็นเส้นใยสีขาวที่สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ