Page 151 -
P. 151
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
145
เมล็ดและต้นกล้า
ในเมล็ดพืชบางชนิด มีส่วนที่สะสมอาหารที่เรียกว่า perisperm ซึ่งเจริญมาจากการแบ่งตัวของ
เซลล์ชั้น nucellus ที่ห่อหุ้มเอ็มบริโอ เมล็ดพืชที่มี perisperm สะสมอาหาร เช่น เมล็ดกาแฟ และ Piper
sp.
เมล็ดนอกจากเป็นแหล่งสะสมอาหารของพืช ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และ
วิตามินต่างๆ แล้ว ยังท าหน้าที่กระจายพันธุ์ซึ่งเป็นข้อดีของพืชมีดอกและเมล็ด เพราะช่วยให้พืชมีโอกาส
ที่จะด ารงอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ และยังช่วยให้เกิดพันธุ์ใหม่ๆ ได้จากการผสมข้ามพันธุ์กัน การ
แพร่กระจายของเมล็ดเกิดได้โดยมีพาหะภายในต้นพืชเอง หรือจากพาหะภายนอก เช่น มนุษย์ สัตว์ ลม
และน้ า เป็นต้น เมล็ดเมื่อแพร่กระจายไปและได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะเกิดกระบวนการงอก
และเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้ เรียกต้นอ่อนที่ได้จากการงอกของเมล็ดนี้ว่า ต้นกล้า (seedling)
ต้นกล้า (seedling)
เมล็ดพืชส่วนใหญ่เมื่อเจริญเติบโตและพัฒนาเต็มที่แล้ว พร้อมที่จะงอกเป็นต้นใหม่ได้ทันที่เมื่อ
ได้รับปัจจัย (ได้แก่ น้ า และออกซิเจน) และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (เช่น อุณหภูมิ และแสง) แต่เมล็ด
พืชบางชนิดที่มีระยะการพักตัวของเมล็ด (seed dormancy) เช่น เมล็ดถั่วลิสง (บางพันธุ์) เมล็ดกระถิน
และเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์ที่มีลักษณะเปลือกเมล็ดแข็ง (hardseed) จะไม่สามารถงอกได้แม้จะได้รับปัจจัย
และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้วก็ตาม จนกว่าจะพ้นระยะการพักตัว หรือได้มีการท าลายการพักตัว
เสียก่อน
ในการงอกของเมล็ดนั้น เมื่อเมล็ดได้รับน้ าและออกซิเจน จะเกิดกระบวนการเมแทบอลิซึม
ต่างๆ เกิดขึ้นภายในเมล็ด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการสังเคราะห์กรดอะมิโน และเอนไซม์ต่างๆ ท าให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงจากสภาพเอ็มบริโอที่มีการพักตัว (resting or quiescent embryo) ไปสู่สภาพที่การ
เจริญเติบโต โดยการแบ่งเซลล์ และเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงสภาพของเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดและปลายราก
บริเวณแกนการเจริญ ท าให้มีการเจริญของรากและล าต้นออกมาจากเมล็ด เป็นต้นกล้า ที่เรียกว่า
seedling
การงอกของเมล็ด สามารถจ าแนกตามสันฐานวิทยาการงอกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การงอกแบบ epigeal germination (ภาพที่ 8.5) เป็นการงอกที่พืชดันส่วนที่เป็นใบเลี้ยง
ขึ้นมาอยู่เหนือดิน โดยการงอกจะเกิดจากมีการเจริญส่วนปลายรากและ แทงราก (radicle) ออกมาจาก
ช่องของ microphyl จากนั้นส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง ที่เรียกว่า hypocotyl จะยืดยาวและโค้งงอ ดันส่วนของ
ใบเลี้ยง ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl) และส่วนยอดให้ขึ้นมาอยู่เหนือดิน จากนั้นใบเลี้ยงจะกางออก
รศ. ดร. ลิลลี่ กาวีต๊ะ