Page 167 -
P. 167
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 149
ขั้นตอนที่ 3 โจมตี เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆ เพื่อท าให้เมฆหรือกลุ่ม
เมฆมีความหนาแน่นมากพอที่จะตกเป็นฝนได้ตรงตามพื้นที่เป้ าหมาย โดยโปรยสารเคมีที่ท าให้
อุณหภูมิต ่าลง ได้แก่ สารเคมีสูตร ท.1 หรือโซเดียมคลอไรด์กับน ้าแข็งแห้ง หรือผสมระหว่าง
โซเดียมคลอไรด์กับยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท ที่ระดับฐานหรือยอดเมฆหรือทั้งที่ยอดและ
ฐานของเมฆพร้อมกัน เพื่อเหนี่ยวน าให้เม็ดน ้าที่รวมตัวกันตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้ าหมาย ขั้นตอน
นี้ต้องพิจารณาจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ เพื่อเพิ่มปริมาณน ้าฝน และเพื่อให้เกิดการกระจายการ
ตกของฝน
การท าฝนในเมฆเย็น
เมฆเย็น หมายถึง ก้อนเมฆที่มีอุณหภูมิภายในต ่ากว่าจุดเยือกแข็งหรือต ่ากว่า 0
องศาเซลเซียส สถานะของน ้าในก้อนเมฆจะมีถึง 3 สถานะ คือ ของเหลว (เม็ดละอองหรือเม็ดน ้า)
ของแข็ง (เกล็ดน ้าแข็ง) และแก๊ส (ไอน ้า) เมฆเย็นที่เหมาะส าหรับการท าฝนเมฆเย็นในปรเทศไทย
ต้องมียอดเมฆความสูงเฉลี่ยประมาณ 7 กิโลเมตร(21,000 ฟุต) เม็ดน ้าในก้อนเมฆมีอุณหภูมิ
ระหว่าง -6 ถึง -12 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกเม็ดน ้าดังกล่าวว่า เม็ดน ้าเย็นยิ่งยวด และมีความ
หนาแน่นมากกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีกระแสอากาศไหลขึ้นมากกว่า 330 เมตรต่อวินาที
(1,000 ฟุตต่อนาที) สารเคมีที่ใช้คือ ซิลเวอร์ไอโอไดด์ ซึ่งจะไปกระตุ้นเร่งให้เม็ดน ้าเย็นยิ่งยวด
เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นผลึกหรือเกล็ดน ้าแข็งทันที ซึ่งจะมีผลท าให้เกิดการคายความร้อน
แฝงออกมา จากการเปลี่ยนสถานะพลังงานความร้อนดังกล่าวจะท าให้มวลอากาศภายในก้อนเมฆ
เกิดการลอยตัวขึ้นอย่างแรงและเกิดแรงดูดอากาศใต้ฐานเมฆ ดูดความชื้นหรือไอน ้าเข้ามาทดแทน
ท าให้ก้อนเมฆเจริญเติบโตเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น และมีผลท าให้ได้ปริมาณน ้าฝนเพิ่มขึ้น
หลักการจ าแนกเมฆ
นักวิทยาศาสตร์ได้จ าแนกเมฆและเรียกตามชื่อลักษณะของเมฆ ลักษณะการเกิด
เมฆ เมฆที่เกิดจากการลอยขึ้นของกลุ่มอากาศอย่างช้าๆ จะมีลักษณะเป็นเมฆแผ่น (stratus) เมฆที่
เกิดจากการลอยขึ้นของกลุ่มอากาศอย่างรวดเร็วจะมีลักษณะเป็นเมฆก้อน (cumulus)
สเตรตัส (Stratus) มีความหมายว่า เป็นชั้น (layer)
คิวมิวลัส (Cumulus) มีความหมายว่า เป็นก้อน (heap หรือ puffy cloud)
เซอร์รัส (Cirrus) มีความหมายว่า เป็นริ้ว (Curl of hair หรือ wispy cloud)
นิมบัส (Nimbus) มีความหมายว่า ฝนแรง (violent rain)
อัลโต (Alto) มีความหมายว่า สูง (high)