Page 162 -
P. 162

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                 144   กระบวนการควบแน่นและหยาดน ้าฟ้า








                            2)  สภาวะที่เพิ่มขนาดจนเต็มที่ (mature  stage)  เป็นช่วงที่เกิดการเพิ่มขนาดของ

               หยดน ้า จนถึงระดับที่น ้าหนักของหยดน ้าหรือผลึกน ้าแข็งมากกว่าแรงลอยตัว หยดน ้าหรือผลึก
               น ้าแข็งจะเริ่มตกลงมาพร้อมกับดึงอากาศรอบข้างไหลตามลงมา จนเกิดกระแสอากาศไหลลง
               (downdraft) ขณะที่ยังมีบางส่วนไหลขึ้นในสภาวะนี้ถ้ามีความชื้นมากพอจะเกิดฝนตกหนัก



                            3)  สภาวะสลายตัว (dissipating  stage)  สภาวะนี้เกิดขึ้นหลังจากเกิดสภาวะเพิ่ม
               ขนาดของหยดน ้าประมาณ 15 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง ในสภาวะนี้กระแสอากาศไหลลงเริ่มอ่อนแรงลง

               และไม่มีกระแสอากาศไหลขึ้นจึงไม่มีอากาศอุ่นและชื้นเพิ่มเข้าไปในเมฆ เมฆจึงเริ่มสลายตัวและมี
               ฝนตกเบาบางลง ในเมฆก้อนเดี่ยวๆ จะใช้เวลาการเกิดทั้ง 3  สภาวะนี้ภายในเวลา 1  ชั่วโมงหรือ
               น้อยกว่า (ภาพที่ 5.17)



                            เมฆคิวมิวลัสคอนเจสตัส (cumulus  congestus)  และเมฆพายุฝนฟ้ าคะนอง
               (cumulonimbus)  ที่เกิดขึ้นทั้ง 3  สภาวะนี้ใช้เวลาประมาณ 30  นาที และชนิดของหยาดน ้าฟ้ าที่มี
               อิทธิพลมากที่สุดคือ ผลึกน ้าแข็งที่เพิ่มขนาดแล้ว


                            จากการตรวจด้วยเรดาร์พบว่า คลื่นสะท้อนชุดแรก (first  echoes)  ของเรดาร์ตรวจ

               อากาศที่สะท้อนจากก้อนเมฆที่ความสูงซึ่งมีระดับอุณหภูมิระหว่าง –15 ถึง 20 องศาเซลเซียสนั้นมี
               ปริมาณผลึกน ้าแข็งที่เพิ่มขนาดแล้วในเมฆมาก โดยมีช่วงความสูงของการละลายผลึกน ้าแข็งอยู่ที่

               ความสูงซึ่งมีระดับอุณหภูมิ 5  ถึง 10  องศาเซลเซียส การเพิ่มความสูงของยอดเมฆท าให้ปริมาณ
               และอัตราการตกของฝนเฉลี่ยในเมฆก้อนเดี่ยวเพิ่มขึ้น


                            Takahashi and Kuhasa (1993) รายงานผลการศึกษากระบวนการและกลไกในเมฆ

               พายุฝนฟ้าคะนองที่เปอเปีย (Pohnpei) ในหมู่เกาะไมโครนีเซีย (Micronesia) จากการส่งบอลลูนติด
               วิทยุหยั่งอากาศ (radiosondes) ติดเครื่องมือวัดพิเศษและกล้องถ่ายภาพโทรทัศน์เข้าไปในเมฆพายุ

               ฝนฟ้าคะนอง (cumulonimbus) 3 รูปแบบ 1) กลุ่มเมฆ (Rainbands) ที่ท าให้ฝนตกหนัก 2) เมฆพายุ

               ฝนฟ้าคะนองชนิดเมฆเดี่ยว และ 3) เมฆก่อตัวจากการพาความร้อนในระดับสูง ที่ระดับซึ่งมีความ
               ดัน 500 มิลลิบาร์ พบว่าหยาดน ้าฟ้าในเมฆเหล่านี้มีลักษณะผสมกันระหว่างกระบวนการเกิดฝนใน
               เมฆอุ่นที่ระดับต ่ากับกระบวนการผลึกน ้าแข็งที่ระดับสูง มีรายละเอียดดังนี้


                            (1) กลุ่มเมฆ ที่ท าให้ฝนตกหนักพบเม็ดฝนที่ระดับความสูงซึ่งมีอุณหภูมิ 0  องศา

               เซลเซียส ส่วนใหญ่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 3 มิลลิเมตร และพบผลึกน ้าแข็งที่เพิ่มขนาด

               แล้ว (graupel) กับผลึกน ้าแข็ง (ice crystal) ที่ระดับความสูงกว่าระดับ –15 องศาเซลเซียส ไปจนถึง
               ความสูง 11 กิโลเมตร ที่ระดับ –5 องศาเซลเซียส จนถึง –10 องศาเซลเซียส พบอนุภาคเยือกแข็ง
               ประกอบด้วย ลูกเห็บขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 7 มิลลิเมตร
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167