Page 161 -
P. 161
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 143
ละอองน ้าขนาดใหญ่ ไอน ้า หยดน ้าในเมฆ
ละอองน ้า
ขนาดเล็ก
ผลึกน ้าแข็ง
เม็ดฝน
เม็ดฝนเริ่ม
แยกจากกัน
ภาพที่ 6.5 การชนและรวมตัวกัน (collision-coalesience) เป็นการเพิ่มขนาดของละอองน ้าขนาด
เล็กในเมฆ ซึ่งเกิดในกระบวนการเกิดเมฆอุ่น (ซ้าย) การเพิ่มขนาดของอนุภาคผลึกน ้าแข็ง (ice
crystal) จากการที่หยดน ้าเย็นยิ่งยวด มีความดันไอสูงกว่าผลึกน ้าแข็งและแพร่โมเลกุลของไอน ้าไป
พอกพูนและควบแน่นบนผลึกน ้าแข็ง (ขวา) ที่มา : ดัดแปลงจาก Lutgens and Tarbuck (1982)
6.2.3 เมฆก่อตัวจากการพาความร้อนและพายุฝนฟ้ าคะนอง
พายุฝนฟ้ าคะนอง (Thunderstorms) เป็นสภาวะอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากเมฆก่อ
ตัวในแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งท าให้เกิดฟ้ าแลบ ฟ้ าผ่าหรือบางโอกาสเกิดพายุลมแรงฝนตก
หนักและอาจเกิดพายุลูกเห็บ สภาวะอากาศนี้เกิดจากการพาความร้อนที่ถ่ายโอนอากาศอุ่นและชื้น
ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศขณะที่บรรยากาศมีสภาวะไม่เสถียร (instability) จึงก่อตัวเป็นเมฆขนาด
ใหญ่อย่างรวดเร็วจนมีความสูงมากถึงรอยต่อระหว่างชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์และสตราโตส
เฟียร์ และมีความกว้างตั้งแต่ 5-6 กิโลเมตรไปจนถึงกลุ่มเมฆหรือแนวเมฆที่มีความกว้างเป็น 100
กิโลเมตร ล าดับการพัฒนาจากเมฆคิวมิวลัสจนเป็นพายุฝนฟ้ าคะนอง แบ่งได้เป็น 3 ช่วงสภาวะ
แบ่งตามทิศทางและขนาดของกระแสอากาศที่ไหลตามแนวตั้ง ดังนี้
1) สภาวะที่เป็นเมฆก่อตัวในแนวตั้ง (cumulus state) เป็นช่วงที่อากาศเคลื่อนที่ขึ้น
และเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจึงควบแน่นและคายความร้อนแฝงออกมา ท าให้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นและ
มีแรงพยุงเพิ่มขึ้นจนเป็นการเพิ่มความเร็วของกระแสอากาศที่เคลื่อนที่ขึ้น ท าให้เมฆเพิ่มความสูง
อย่างรวดเร็ว