Page 166 -
P. 166
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
148 กระบวนการควบแน่นและหยาดน ้าฟ้า
2. สารเคมีที่เมื่อดูดซับไอน ้าแล้วเกิดปฏิกิริยาดูดความร้อนท าให้อุณหภูมิภายใน
ก้อนเมฆต ่าลง ได้แก่ ยูเรีย แอมโมนียมไนเตรทและน ้าแข็งแห้ง สารเคมีเหล่านี้นอกจากจะท าให้
อุณหภูมิภายในก้อนเมฆต ่าลงแล้วยังท าหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวท าให้เม็ดน ้ารวมตัวกันมีขนาดใหญ่
เร็วขึ้นและความร้อนแฝงจากการกลั่นตัวของไอน ้าท าให้เกิดการลอยตัวและกระบวนการกลั่น
ตัวอย่างต่อเนื่องด้วย
3. สารเคมีที่ใช้ดูดซับไอน ้าและเป็นแกนกลั่นตัว ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์และ
สารเคมีสูตร ท.1 เมื่อสารเคมีดูดซับความชื้นแล้วท าให้อุณหภูมิภายในก้อนเมฆต ่าลงเล็กน้อยหรือ
แทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะท าหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวที่ดี จึงเป็นสารที่ใช้ในทุกขั้นตอนของการท า
ฝน
การท าฝนในเมฆอุ่น
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น เมฆส่วนใหญ่ที่พบจึงเป็นเมฆ
อุ่นซึ่งมีในระดับไม่สูงมาก ส่วนเมฆเย็นจะพบในที่สูงมากซึ่งต้องใช้เครื่องบินที่มีสมรรถนะสูงมาก
ในการบินขึ้นไปโปรยสารเคมีที่ยอดเมฆซึ่งสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร(18,000 ฟุต) แต่ให้ปริมาณน ้า
เท่ากับเมฆอุ่น ดังนั้นการท าฝนในเมฆอุ่นจึงเป็นเทคโนโลยีการท าฝนเทียมเพื่อเพิ่มปริมาณน ้า
ให้กับประเทศที่ใช้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรง
ก าหนดขั้นตอนกรรมวิธีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศด้วยการก่อกวนสมดุลหรือ
เสถียรภาพของมวลอากาศ เพื่อเร่งให้เมฆก่อตัวในแนวตั้ง โดยใช้สารเคมีที่ดูดซับไอน ้าแล้วคาย
ความร้อนไปกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวสูงขึ้นเข้าสู่กระบวนการเกิดเมฆโดยใช้ แคลเซียมคาร์
บายด์ แคลเซียมออกไซด์ หรือร่วมกับสารผสมระหว่างโซเดียมคลอไรด์กับยูเรีย หรือยูเรียกับ
แอมโนเนียมไนเตรท โปรยทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้ าหมายที่ระดับสูง1 ถึ 2.5 กิโลเมตร
(3,000 ถึง 8,000 ฟุต) เพื่อเร่งให้เมฆก่อตัวเร็วกว่าและเพิ่มปริมาณมากกว่าที่เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติ
ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและก้อนเมฆ เพื่อเสริมให้
เมฆเจริญเติบโตขึ้นทั้งทางเมฆและยอดเมฆซึ่งเป็นระยะที่ส าคัญมาก ต้องวางแผนปฏิบัติการอย่าง
ต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเมฆด้วย สารเคมีที่ใช้ต้องท าหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวที่ดี
และท าให้อุณหภูมิที่ฐานและยอดเมฆต ่าลง ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ สารเคมีสูตร ท.1 ยูเรีย แอมโน
เนียมไนเตรท น ้าแข็งแห้ง บางครั้งอาจใช้แคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยโดยโปรยเป็นวงกลมหรือเป็น
แนวถัดลงมาทางใต้ลมที่ระดับความสูง 5,000 ถึง 10,000 ฟุต ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้
กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ Updraft เป็นการกระตุ้นหรือเร่งเร้าการ
เจริญเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัวแล้วให้มีขนาดใหญ่ ฐานกว้าง และก่อยอดสูงขึ้น