Page 165 -
P. 165
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 147
โดยสารเคมีจะท าหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัว (condensation nuclei) ชักน าให้ไอน ้าเข้ามารวมกันแล้ว
ควบแน่นเป็นเม็ดน ้าหรือละอองน ้ามีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นกลไกการเกิดฝน
ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าการเกิดเองตามธรรมชาติ
ภาพที่ 6.8 ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่ใช้ในการท าฝนหลวง
ที่มา : ส านักฝนหลวงและการบินเกษตร
สารเคมีที่ใช้ท าฝนเทียมทุกชนิดได้ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ทดลองและคัดเลือก
แล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม 2 ประการ คือ มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าอนุภาคสารที่ท าให้เกิด
ฝนตามธรรมชาติ และต้องไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิต ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อ
สภาพแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สารเคมีที่ดูดซับไอน ้าแล้วเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนท าให้อุณหภูมิภายในก้อน
เมฆสูงขึ้น ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์บายด์ และแคลเซียมออกไซด์ เมื่อคายความ
ร้อนแล้วสารเคมีดังกล่าวจะกลายเป็นแกนกลั่นตัว ความร้อนจากปฏิกิริยาจะรวมกับความร้อนแฝง
จากการกลั่นตัวของไอน ้าในก้อนเมฆและความร้อนจากดวงอาทิตย์ท าให้มวลอากาศมีการลอยตัว
ขึ้น (updraft) ได้ดีกว่าปกติ