Page 172 -
P. 172

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                 154   กระบวนการควบแน่นและหยาดน ้าฟ้า








               6.3  หยาดน ้าฟ้ า (Precipitation)



                     หยาดน ้าฟ้ า คือ น ้าทุกรูปแบบที่ตกลงมาจากฟากฟ้ า ได้แก่ น ้าฝน ลูกเห็บ น ้าค้าง หมอก
               เป็นต้น


                      6.3.1  ประเภทของหยาดน ้าฟ้ า


                            ประเภทของหยาดน ้าฟ้ า ซึ่งส่วนใหญ่ก าหนดว่าเป็นฝนนั้นจ าแนกตามสภาพการ
               เกิดฝนได้ 4 สาเหตุ ดังนี้

                             1.  ฝนที่เกิดจากแนวปะทะอากาศร้อน (Warm Front Precipitation)


                                ฝนประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่ออากาศร้อนเคลื่อนที่ทาบบนอากาศเย็น (ความลาดชัน

               ของบริเวณปะทะประมาณ 1 : 500 ถึง 1 : 1,000) ท าให้เกิดเมฆก่อตัวเป็นแนวจากระยะไกลสุดเป็น

               เมฆชั้นสูงต่อมา เมฆชั้นกลางและเมฆฝน (Nimbostratus) ในที่สุด ฝนประเภทนี้ตกไม่มากและไม่
               หนักมาก (low amount and low intensity)


                             2.  ฝนที่เกิดจากแนวปะทะอากาศเย็น (Cold Front Precipitation)


                                ฝนประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่ออากาศเย็นเคลื่อนที่เข้ามามุดใต้อากาศร้อน  ท าให้
               อากาศร้อนถูกยกตัวพาไอน ้าขึ้นไปควบแน่นทั้งที่บริเวณแนวปะทะและที่ระดับความสูงที่เหมาะสม

               จึงเกิดเมฆก่อตัวในแนวตั้งชนิดคิวมิวโลนิมบัส  (Cumulonimbus)  ความลาดชันของแนวปะทะ
               ประมาณ  1  :  50  ถึง  1  :  100  ปริมาณน ้าฝนพอประมาณ  แต่ฝนตกหนักในช่วงเวลาไม่นาน

               (Moderately amount and high intensity)

                             3.  ฝนที่เกิดจากการปะทะกับแนวภูเขา (Orographic Precipitation)


                                เกิดขึ้นเมื่ออากาศซึ่งมีความชื้นและอุณหภูมิสูงถูกพัดพาผ่านแนวภูเขา อากาศ

               ชื้นนี้จะถูกยกให้ลอยสูงขึ้นตามสภาพภูมิประเทศ  การลอยสูงขึ้นนี้ผนวกกับการเพิ่มเติมความชื้น
               ในอากาศจากป่าไม้บริเวณภูเขา ท าให้ไอน ้าอิ่มตัวในระดับไม่สูงมากนัก และการควบแน่นเกิดขึ้น
               ได้ง่าย จึงสามารถรวมตัวกันเป็นเมฆฝนตกลงมายังด้านที่ปะทะกับแนวเขาจนเกือบหมด เรียกว่า

               ด้านรับลมหน้าเขา (Windward Side) ส่วนที่เหลือเป็นอากาศแห้งและมีอุณหภูมิสูง จึงถูกยกตัวให้

               ลอยขึ้นข้ามภูเขา  อากาศนี้ไม่มีไอน ้า  จึงเป็นอากาศแห้งและร้อน  ท าให้สภาพภูมิอากาศด้านหลัง
               แนวเขามักจะแห้งแล้งมีฝนตกน้อย  เรียกด้านหลังแนวเขา  (Leeward  Side)  เรียกเขตแห้งแล้งว่า
               เขตเงาฝน (Rain Shadow)
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177