Page 175 -
P. 175
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 157
6.3.2 รูปแบบของหยาดน ้าฟ้ า
1. ฝนละออง (dizzle) คือ ละอองน ้าขนาดเล็กโปรยลงมาจากเมฆชั้นกลาง มีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางของละอองน ้าเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร ความหนักเบาของน ้าฝนที่ตกไม่เกิน 1
มิลลิเมตรต่อชั่วโมง
2. ฝน (rain) คือ หยดน ้าที่ตกลงมาจากก้อนเมฆมีขนาดระหว่าง 0.5 มิลลิเมตร ถึง
6 มิลลิเมตร ฝนที่ตกลงมาจะต้องมีความเข้มของฝนหรือความหนักเบาของฝนมากกว่า 1
มิลลิเมตรต่อชั่วโมง
3. เกล็ดน ้าฝน (sleet) คือ น ้าฝนที่ตกลงมาผ่านก้อนเมฆเย็นแล้วแข็งตัวเป็นเกล็ด
น ้าแข็งตกลงมาสู่พื้นดิน
4. หิมะ (snow) คือ ไอน ้าที่ควบแน่นเป็นผลึกน ้าแข็งกลางอากาศกลางอากาศ
ขณะที่มีการควบแน่นเกิดขึ้น เมื่อมีปริมาณของเกล็ดหิมะมากเพียงพอจนอากาศไม่สามารถพยุงไว้
ได้อีก หิมะจะตกลงมาสู่พื้นดิน
5. ลูกเห็บ (hail) คือ ก้อนน ้าแข็งที่เกิดจากการจับตัวของผลึกน ้าแข็ง ซึ่งผ่าน
กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นน ้าเมื่อตกลงมาแล้วถูกยกให้ลอยขึ้นไปอีกในก้อนเมฆ ท าให้เป็น
น ้าแข็งอีก จึงเป็นผลึกน ้าแข็งก้อนใหญ่ตกลงมาพร้อมกับฝนที่ตกจากเมฆคิวมิวโลนิมบัส
ความสัมพันธ์ระหว่างความหนักเบาของฝนละออง ฝนเบา และฝนหนัก ตลอดจน
พลังงานจลน์ของฝนดังกล่าว แสดงในตารางที่ 6.2
ตารางที่ 6.2 รูปแบบของฝน ความหนักเบาและพลังงานจลน์ของเม็ดฝน
ความหนักเบา พลังงานจลน์
-1
-1
(Intensity, mm hr ) (Kinetic energy, MJ ha )
ฝนละออง (dizzle) 1 0.12
ฝน (rain) 15 0.22
ฝนหนัก (cloud burst) 75 0.28
ที่มา : Dissmeyer and Forter (1980)