Page 23 -
P. 23
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในกรณีนี้ กําลังของสัญญาณที่รับได สามารถประมาณไดจากสมการ
h h 2
P R ≈ P T G T G R T R
R 2
ซึ่งกําลังงานที่รับไดจะไมขึ้นกับความถี่ของสัญญาณ แปรผกผันกับระยะทางยกกําลังสี่ (Inverse fourth-
power law) และขึ้นกับความสูงของสายอากาศทางภาครับและภาคสง
ในกรณีของการแพรกระจายแบบเลี้ยวเบน (Diffraction) ดังตัวอยางในรูปที่ 2-6 แสดงการเลี้ยวเบน
แบบ knife-edge จากการวิเคราะหแบบจําลองของการแพรกระจายในกรณีนี้พบวาการลดทอนกําลังขึ้นกับ
สัดสวนของเสนทางตรงที่ถูกกีดขวาง และการที่สัญญาณเกิดการเลี้ยวเบนเชนนี้หลาย ๆ ครั้งเมื่อผานระยะ
ทางไกล ๆ จึงมีแนวโนมที่การสูญเสียกําลังที่เกิดจากการเลี้ยวเบนขึ้นอยูกับระยะทางระหวางตัวสงและตัวรับ
รูปที่ 2-6 ตัวอยางปรากฏการณเลี้ยวเบนแบบ Knife-edge (Shankar, 2002)
โดยทั่วไป สัญญาณที่รับไดจะเปนผลรวมของการแพรกระจายคลื่นในรูปแบบตาง ๆ ทั้งทิศทางตรง
การสะทอน การเลี้ยวเบน และการกระเจิง ดังแสดงตัวอยางในรูปที่ 2-7 รูปที่ 2-8 และรูปที่ 2-9
รูปที่ 2-7 สัญญาณมาถึงเครื่องรับโดยผานการสะทอนกลับและการเลี้ยวเบน (Shankar, 2002)
หนา 16