Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โดยทั่วไปแบบจําลองทางสถิติไดรับความนิยมใชอยางแพรหลาย เนื่องจากสามารถอธิบายผลของ
ปรากฏการณซับซอนที่เกิดขึ้นไดอยางสะดวกกวาแบบจําลองทางกายภาพ เนื้อหาในบทนี้จะกลาวถึงตัวอยาง
แบบจําลองการแพรกระจายทางกายภาพและทางสถิติ รวมทั้งแบบจําลองการแพรกระจายของคลื่นในอาคาร
(Indoor Propagation Models) ที่พบการใชงานมากในระบบโทรศัพทเคลื่อนที่เซลลูลาร ซึ่งใชคํานวณหา
กําลังงานที่ลดทอนลงตามระยะทาง
2.1 แบบจําลองทางกายภาพของชองสัญญาณ (Channel Physical Model)
โดยทั่วไปลักษณะการเดินทางของสัญญาณผานตัวกลางที่เปนอากาศนั้น เกิดจากผลรวมของปรากฏการณหลัก
ของการแพรกระจายคลื่นดังตอไปนี้คือ
1. การแพรกระจายในทิศทางตรง (Line-of-sight: LOS propagation) ซึ่งเปนการแพรกระจายของ
คลื่นที่ไมผานสิ่งกีดขวางใด ๆ จากเครื่องสงไปยังเครื่องรับ เรียกอีกอยางวา Free space
propagation โดยทั่วไปรูปแบบการกระจายแบบนี้เกิดขึ้นในระบบสื่อสารดาวเทียม
รูปที่ 2-1 ตัวอยางการแพรกระจายในทิศทางตรงระหวางสายอากาศสองตัว (Shankar, 2002)
2. การสะทอนกลับ (Reflection) เกิดเมื่อการแพรกระจายของสัญญาณคลื่นแมเหล็กไฟฟาไปกระทบ
กับสิ่งกีดขวางที่มีขนาดใหญกวาความยาวคลื่นของสัญญาณมาก เหตุการณแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อ
สัญญาณวิ่งเขาชนอาคาร การสะทอนกลับของสัญญาณนี้อาจจะเกิดขึ้นที่กําแพงอาคารดังแสดงใน
รูปที่ 2-2
รูปที่ 2-2 การสะทอนกลับของคลื่นจากกําแพงอาคาร (Shankar, 2002)
3. การเลี้ยวเบน (Diffraction) เกิดเมื่อคลื่นแมเหล็กไฟฟาชนกับพื้นผิวที่ไมเรียบสม่ําเสมอ เชน มุม
อาคาร ตนไม เนินเขา ทําใหเกิดการเลี้ยวเบนของคลื่น ดังแสดงในรูปที่ 2-3
หนา 14