Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บทที่ 2
ลักษณะการแพรกระจายของคลื่นใน
ชองสัญญาณไรสาย
จุดเดนของการสื่อสารไรสายคือชองสัญญาณ ซึ่งอาศัยการใชอากาศเปนตัวกลางโดยไมตองใชสายนําสัญญาณ
แตขอดีนี้ก็มาพรอมกับขอเสีย คือเปนสาเหตุที่ทําใหชองสัญญาณไรสายมีคุณลักษณะเปลี่ยนแปลงตามเวลา
และสภาพแวดลอม จึงเกิดสัญญาณรบกวนไดงาย คุณลักษณะของชองสัญญาณไรสายโดยทั่วไปจะขึ้นอยูกับ
ปจจัยหลักสองประการคือ 1) รูปแบบการแพรกระจายของคลื่นที่นําสัญญาณจากภาคสงไปยังภาครับ และ 2)
สัญญาณรบกวนซึ่งสามารถแบงไดเปนสองสวน สวนแรกเกิดจากแหลงกําเนิดตาง ๆ ที่โดยทั่วไปอธิบายดวย
แบบจําลอง AWGN (Additive White Gaussian Noise) และสวนที่สองนั้นจะเกิดจากการแทรกแซงกันของ
สัญญาณ (interferences) ตาง ๆ ที่ใชชองสัญญาณรวมกัน
การศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการแพรกระจายของคลื่นในชองสัญญาณไรสาย ทําใหเราสามารถ
สรางแบบจําลองซึ่งใชอธิบายความสัมพันธระหวางกําลังสัญญาณทางภาคสงและภาครับที่ระยะทางตางๆ
ภายใตปจจัยแวดลอมที่เกี่ยวของ เชน ความสูงของสายอากาศ ความถี่ของสัญญาณ สภาพแวดลอม และอื่นๆ
ซึ่งทําใหเราสามารถประมาณกําลังสงของระบบ ภายใตขอกําหนดของระยะทางและกําลังต่ําสุดที่รับได ซึ่งมีผล
โดยตรงตออัตราบิตผิดพลาด และนอกจากนั้นยังชวยใหเราสามารถพิจารณาเลือกใชเทคนิคการรับสัญญาณที่
เหมาะสมเพื่อชดเชยผลของชองสัญญาณใหไดประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นในบทนี้จึงนําเสนอหลักการแพรกระจายของคลื่นในชองสัญญาณสื่อสารไรสาย และแบบจําลอง
ตาง ๆ ที่ใชในการประมาณกําลังงานที่สูญเสีย รวมทั้งศึกษาการเลือนของสัญญาณ (Fading) ในรูปแบบตาง ๆ
เพื่อสามารถวิเคราะหผลของการแพรกระจายของคลื่นที่มีตอระบบได โดยทั่วไปแบบจําลองที่ใชอาจจําแนกได
เปนประเภทคือ
2
1. แบบจําลองทางกายภาพ (Physical Models) เปนแบบจําลองที่สรางโดยการพิจารณารูปแบบ
ทางกายภาพที่เกิดขึ้นจริงระหวางภาคสงและภาครับ จึงทําใหตองใชการคํานวณที่ซับซอนและใช
เวลามาก แตก็สามารถอธิบายพฤติกรรมการแพรกระจายของคลื่นไดคอนขางแมนยํา
2. แบบจําลองทางสถิติ (Statistical Models) เปนแบบจําลองที่สรางขึ้นจากการศึกษาลักษณะของ
สภาพแวดลอมหลาย ๆ รูปแบบ โดยในแตละรูปแบบจะทําการทดลองซ้ําเพื่อหาคาพารามิเตอรที่
เหมาะสม แบบจําลองประเภทนี้สะดวกตอการใชงาน แตมีความเชื่อถือไดนอยกวาแบบจําลอง
ทางกายภาพ
หนา 13