Page 164 -
P. 164
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วิธีของการศึกษาจลนพลศาสตรเคมี 155
ในการหาอันดับของสาร A หรือคา p จะตองทําใหสารตั้งตนชนิดอื่นในที่นี้คือสาร B มี
ปริมาณมากซึ่งอาจอนุโลมไดวาความเขมขนของสาร B มีคาคงที่ตลอดปฏิกิริยา หรือ [B] = [B] 0
ดังนั้นกฎอัตราจะกลายเปน R = k′ [A] p (7.15)
และ k′ = k[B] q (7.16)
ดังนั้นปฏิกิริยาในสภาวะที่กําหนดเชนนี้ตามสมการ (7.15) เปนปฏิกิริยาที่มีอันดับพีเทียม (pseudo
th
p -order reaction)
ในทํานองเดียวกันการหาอันดับของสาร B หรือคา q จะตองทําใหสารตั้งตนชนิดอื่นในที่นี้
คือสาร A มีความเขมขนมากและถือวาความเขมขนของสาร A มีคาคงที่ตลอดปฏิกิริยา หรือ [A] =
[A] 0
ดังนั้นสมการ (7.14) จะกลายเปน R = k ′′ [B] q (7.17)
และ k ′′ = k[A] p (7.18)
จะเห็นไดวาปฏิกิริยาในสภาวะที่กําหนดเชนนี้ตามสมการ (7.17) เปนปฏิกิริยาที่มีอันดับคิวเทียม
th
(pseudo q -order reaction)
ดังนั้นอาจกลาวไดวา ในการหาอันดับของสารตั้งตนแตละชนิดโดยวิธีการแยกเอกเทศจาก
สารตั้งตนอื่นๆ ในกรณีที่ปฏิกิริยามีสารตั้งตนหลายชนิด และตองใชควบคูกับวิธีในการหาอันดับ
ของสารตั้งตนเพียงชนิดเดียว ซึ่งจะเปนวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะกลาวตอไป
7.2.2 วิธีอัตราเริ่มตน (Method of Initial Rate)
วิธีอัตราเริ่มตนคือวิธีในการหาอันดับของสารตั้งตนเพียงชนิดเดียว โดยการเปลี่ยนความ
เขมขนเริ่มตนของสารตั้งตนนั้น ควบคูกับการวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่จุดเริ่มตน และในกรณีที่
ปฏิกิริยามีสารตั้งตนมากกวาหนึ่งชนิดจะใชควบคูกับวิธีการแยกเอกเทศ ตัวอยางปฏิกิริยาตอไปนี้
k
A ⎯ →⎯ P (7.19)
มีกฎอัตราดังนี้ R = k [A] n (7.20)
เมื่อ R = อัตราการเกิดปฏิกิริยา
n = อันดับของปฏิกิริยา
k = คาคงที่อัตราของปฏิกิริยาที่อุณหภูมิหนึ่งๆ