Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         26



                   เพลงลา เป็นต้น เพลงไทยยังอาจแบ่งออกเป็น ประเภทของเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

                   เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน เพลงพื้นบ้านภาคใต้  เพลงที่ร้องตามฤดูกาลหรือเทศกาล

                   เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงหมอลํา เพลงโคราช  เพลงลําตัด  เพลงฉ่อย  เพลงอีแซว  เพลงที่ร้องตาม
                   จุดประสงค์ในการร้อง เช่น เพลงกล่อมเด็ก  เพลงประกอบพิธีกรรมทําขวัญนาค  นอกจากนี้ ยังอาจจะแยก

                   เป็นเพลงตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อีกมาก เช่น เพลงพื้นบ้านกลุ่มไทย-ลาว  เขมร-ส่วย (กูย) และกลุ่มไทย

                   โคราช เป็นต้น (โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนและhttp://library.cmu.ac.th/ntic/childmusic.php)


                               ตัวอย่างเพลงเกี่ยวกับอาหารการกินภาคเหนือของ จรัล  มโนเพ็ชร – สุนทรี เวชานนท์

                   ในชื่อเพลง “ของกิ๋นคนเมือง” (http://board.palungjit.com/f188) ดังนี้


                                (ชาย)   ของกิ๋นบ้านเฮาเลือกเอาเต๊อะนาย     (หญิง)   เป๋ นของพื้นเมือง  เป๋ นเรื่องสบาย

                       (ชาย + หญิง) ล้วน ซะป๊ะ มากมี   ฟังฮื้อดีเน้อ ฟั่งใค้อยากจนเผลอ  มาบกลืนนํ้าลาย

                                (ชาย)   แก๋งแคจิ้นงัว                (หญิง)   ใส้อั่วจิ้นหมู

                                 (ชาย)  แก๋งหน่อไม้ซาง               (หญิง)   ขั่วบ่าถั่วปู

                       (ชาย + หญิง) นํ้าพริกแมงดา           กับนํ้าพริกอ่อง  คั่วผักกุ่มดอง  หนังปองนํ้าปู ๋
                                 (ชาย)   แก๋งผักเซี้ยงดา             (หญิง)   ใส่ป๋ าแห้งตวยเน้อเจ๊า

                                 (ชาย)   แก๋งบอนแก๋งตูน              (หญิง)   กับแก๋งหยวกกล้วย

                       (ชาย + หญิง) ตํ๋าบ่าหนุนยําเตา           ซ้าบ่าเขือผ่อยแก๋งเห็ดแก๋งหอย   ก้อยป๋ าดุ๊กอุย

                                 (ชาย)   แก๋งบ่าค้อนก้อม             (หญิง)   แก๋งอ่อมเครื่องใน
                                 (ชาย)   แก๋งผักเฮือดลอ              (หญิง)   อ๋อยําหน่อไม้

                       (ชาย + หญิง) นํ้าเมี้ยง นํ้าตับ          กับแก๋งฮังเลย์  นํ้าพริกอีเก๋ เฮ้ ยําจิ้นไก่

                                 (ชาย)   ลาบงัวตั๋วลาย               (หญิง)   ลาบควายตั๋วดํา

                                 (ชาย)   ลาบไก่ยกมา                  (หญิง)   ลาบป๋ าสร้อยก็ลํากา
                                 (ชาย)   กิ๋นอะหยังระวังพ่อง         (หญิง)   ลุ๊ต๊องจะว่าบ่บอก

                                 (ชาย)   ส่วนบ้านผมกิ๊กก๊อก          (หญิง)   ยอกแก๋งโฮะตึงวัน

                                 (ชาย)   ของกิ๋นบ้านเฮา.เลือกเอาเต๊อะนาย.   (หญิง)   เป๋ นของพื้นเมือง  เป๋ นเรื่องสบาย
                       (ชาย + หญิง) ล้วน ซะป๊ะ มากมี         ฟังฮื้อดีเน้อ  ฟั่งใค้อยากจนเผลอ  มาบกลืนนํ้าลาย


                          7.2 วัฒนธรรมศิลปะการแสดงของไทย  มีการแสดงออกของลีลาการแสดงที่มีเอกลักษณ์ไม่

                   เหมือนชาติใดในอาเซียน ถึงแม้ว่าอาจจะคล้ายกับศิลปะการแสดงของหลายประเทศ  แต่ด้วยระยะเวลา

                   ที่ผ่านไป  ศิลปะการแสดงของไทย ได้มีพัฒนาการทําให้ศิลปะการแสดงของไทยมีวิวัฒนาการที่ต่างจาก
                   ชาติอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด เช่น ท่ารํา  ท่าเต้น ลีลาการแสดงออกทางอารมณ์ รัก โกรธ  เขินอาย และฮึกเหิม
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51