Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         27



                   ล้วนมีคําอธิบายเป็นศาสตร์แห่งการถ่ายทอดการเรียนรู้  เช่น ท่าทางร่ายรําของการแสดงโขน ละคร  ลิเก

                   ระบํา เช่น ระบําศรีวิชัย ระบําสุโขทัย  การฟ้ อน เช่น ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน  การรํา เช่น รําฉุยฉาย

                   รําศรีนวล  เป็นต้น (อมรรัตน์  เทพกําปนาท, 2553) นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดเจนว่าเสื้อผ้าการแต่งองค์
                   ทรงเครื่องประกอบการแสดงของไทยมีพัฒนาการมากและมีความเฉพาะเป็นที่ประจักษ์เช่นกัน นอกจากนี้

                   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้กรมศิลปากร ดําเนินการปรับปรุงชุด

                   เครื่องแต่งกายโขนให้มีลวดลายประณีต งดงาม ตามแบบแต่งกายโขนเดิมและพระราชทานทรัพย์จํานวน
                   300,000 บาท โดยดําเนินการให้แล้วเสร็จทันงานเฉลิมฉลองในปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                   ทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธ.ค. 2550 (http://www.moe.go.th/news)


                          8. วัฒนธรรมเครื่องดนตรีของไทย  (Thai Culture of Music Instruments)  เป็น
                   อุปกรณ์เครื่องดีด  เครื่องสี  เครื่องตี  เครื่องเป่า ทําให้เกิดเสียงตามจังหวะเป็นเพลงของไทยที่มีรูปแบบที่

                   เป็นเอกลักษณ์ แบ่งได้  (สุรพล  สุวรรณ.2549. และ http://th.wikipedia.org/wiki) ดังนี้


                                        8.1  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายไว้ดีดให้เกิดเสียง โดยอาจจะใช้
                   นิ้วดีด หรือ อุปกรณ์ช่วยในการดีด  ได้แก่  จะเข้  ซึง  พิณเพียะ  พิณนํ้าเต้า  ไหซอง


                                        8.2  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี  เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายไว้สีด้วยคันสี หรือคันชักให้เกิด

                   เสียง ได้แก่  ขิม   สะล้อ  เป็นเครื่องดนตรีภาคเหนือ  ซอ ได้แก่ ซออู้  ซอด้วง  ซอสามสาย  ซอสามสาย

                   หลีบ   ซอกันตรึม


                                        8.3  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวัสดุที่ประกอบขึ้น ซึ่งส่งผล

                   ให้เสียงที่ตีออกมามีเสียงทุ้มเสียงแหลม และเสียงดังที่แตกต่างกัน ดังนี้  1) เครื่องตีประเภทเครื่องไม้
                   ได้แก่ ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  กรับ  โปงลาง  2) เครื่องตีประเภทเครื่องโลหะ ได้แก่ ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวง

                   เล็ก  ฆ้องมอญ  ฆ้องโหม่ง  ฉิ่ง  ฉาบ ฆ้องคู่ ฆ้องราว  ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก   3) เครื่องตี

                   ประเภทเครื่องหนัง  ได้แก่  กลองยาว  กลองรํามะนา  กลองสะบัดชัย  กลองมลายู  กลองแขก  กลองทัด

                   กลองสองหน้า  กลองชาตรี กลองตะโพน กลองมังคละ กลองมโหระทึก  ตะโพน  ตะโพนมอญ  เปิงมาง
                   โทน


                                        8.4  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่ า แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 1) เครื่องเป่ าแบบมีลิ้น

                   ได้แก่  ปี่นอก ปี่กลาง ปี่ใน  ปี่ชวา  ปี่มอญ  ปี่ไฉน  ปี่กาหลอ แคน ปี่จุม  ปี่อ้อ  ปี่แน  2) เครื่องเป่ าแบบไม่มี

                   ลิ้น  ได้แก่  ขลุ่ยหลิบ  ขลุ่ยเพียงออ  ขลุ่ยอู้  ขลุ่ยกรวด  ขลุ่ยนก  แคน โหวด  เรไร
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52