Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
22
5. วัฒนธรรมการดูแลและการรักษาพยาบาลของไทย (Thai Culture of Caring,
Curing and Nursing ) มีความเฉพาะหลายเรื่องที่เป็นเอกลัษณ์ เช่น
5.1 การดูแลให้ความรักอย่างไทย ครอบครัวไทยในอดีตมีวิถีการดํารงชีวิตแบบครอบครัว
ขยาย (Extended family) คือ การดํารงชีวิตในครอบครัวที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจํานวนมากที่มีอายุ
ต่างกันแบ่งเป็นรุ่นต่าง ๆ ได้แก่ พ่อ – แม่ ลูก ปู่-ย่า หรือ ตา-ยาย หรือญาติคนอื่นๆ อาศัยรวมกันและ
อาจจะรวมถึงหลาน ๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัวนั้น บุคคลในครอบครัวต้องมีความเคารพต่อกัน โดยเฉพาะ
การให้เกียรติการนับถือความอาวุโส ให้ความห่วงใยอาทรต่อกัน ทํากิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ จะทําให้เกิด
ความอบอุ่น และความสามัคคีภายในครอบครัว ทําให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
5.2 การดูแลรักษาด้วยการนวด การประคบ และ การอยู่ไฟ เป็นวัฒนธรรมการดูแลต่อกัน
โดยเฉพาะผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัวที่รู้สึกมีการเจ็บปวด หรือ เมื่อยล้า หลักฐานแสดงความเป็น
เอกลักษณ์ได้แก่ ปูนปั้นฤๅษีดัดตนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ท่าเตียน
แสดงท่าทาง “การขยับกายให้สบายชีวี กายบริหารแบบไทย” จํานวน 15 ท่าทาง (สถาบันแพทย์แผนไทย,
2552 กระทรวงสาธารณสุข) รวมถึงเป็นสถานที่การสอนและการถ่ายทอดความรู้ศาสตร์แห่งการนวด
การประคบและการอบตัว ทั้งเพื่อการผ่อนคลายและการรักษาอาการเจ็บป่วยของร่างกาย คนไทยมีการ
ดูแลสตรีหลังคลอดบุตรด้วยให้ความสําคัญต่อสุขภาพของแม่หลังคลอด เช่น การอยู่ไฟ การจัดอาหารเพื่อ
บํารุงนํ้านมแม่ เพื่อให้ทารกได้เจริญเติบโตตามวัย วัฒนธรรมที่กล่าวมานับเป็นภูมิปัญญาไทยด้านการ
ดูแลรักษาพยาบาลต่อกัน ที่มีต้นทุนสูงต่อการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทยจํานวนมาก โดยเฉพาะ
เป็นอาชีพที่ดีสําหรับบุคคลตาบอดที่สามารถใช้เป็นอาชีพสร้างงานและเลี้ยงตนเองได้เป็นอย่างดี ใน
ทํานองเดียวกันก็ช่วยลดภาระต่อรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือเรื่องการจ้างงานให้คนในชาติด้วย
5.3 การใช้ยาสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาอาเซียนและภูมิปัญญาไทยในการใช้พืชสมุนไพร
เพื่อเป็นยาประจําบ้าน และการรักษาสุขภาพ (traditional medicine) หลักฐานตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนมีปรากฏให้
เห็นได้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ “วัดโพธิ์ท่าเตียน” ที่นับว่าเป็นมหาวิทยาลัย
แห่งแรกของไทย ด้วยเป็นแหล่งรวบรวมแผ่นจารึกสรรพวิชาหลายแขนง ซึ่งทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียน
ให้วัดโพธิ์เป็น “มรดกความทรงจําโลก” ที่มีแผ่นจารึกวิชาความรู้ต่าง ๆ มากถึง จํานวน 1,440 ชิ้น ของ
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อปี 2554 (http://th.wikipedia.org/wiki) คนไทยยังรู้จักนําสมุนไพรมาใช้เป็น
ส่วนประกอบของอาหาร เพื่อการป้ องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น คนไทยสมัยก่อนจะทําอาหารที่มี
ส่วนประกอบของหอมแดง หรือ ต้นหอม ในอาหารเมื่อย่างเข้าฤดูกาลปลายฝนต้นหนาว เพื่อให้ร่างกาย
อบอุ่นได้ปรับสภาพก่อนการเข้าสู่ฤดูหนาวจะได้ไม่ป่วย หรือ ไม่เป็นหวัด คนไทยมีการกินอาหารปรับ
ธาตุเพื่อการสร้างสมดุลให้กับร่างกาย มีการแบ่งกลุ่มประเภทอาหารตามธาตุ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับคน
ธาตุไฟร่างกายจะสะสมความร้อนมากจึงควรต้องรับประทานอาหารธาตุนํ้า เช่น ฟัก แฟง แตงโม เพื่อลด