Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
25
ครั้งหนึ่งที่โอเปร่า เฮาส์ ณ มหานครปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการจัดงานเชิญนักออกแบบระดับโลก
มาชุมนุมกัน ครั้งนั้นนักออกแบบช่างเสื้อชั้นสูงชาวไทยได้มีโอกาสแสดงแบบเสื้อที่ตัดเย็บจากโครงการ
ศิลปาชีพ รัฐมนตรีของฝรั่งเศส ศิลปินผู้มีชื่อเสียง ช่างผมชื่อ อเล้กซอง เดอ ปารีย์ รวมทั้งช่างออกแบบ
ชื่อดังจากยุโรป ต่างพากันชื่นชมผลงานนักออกแบบของช่างเสื้อไทยที่ตัดชุดราตรีจากผ้าไหมของ
โครงการศิลปาชีพ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมจากสื่อมวลชนและนิตยสารหลายฉบับของประเทศ
ฝรั่งเศสและประเทศในสหภาพยุโรป โดยปรากฏชื่อผ้าไหมในโครงการสมเด็จพระบรมราชินีนาถจาก
ประเทศไทย จวบจนปัจจุบันผ้าไหมไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก พระองค์ท่าน
ทรงเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในทุกโอกาสที่ทรงทําได้
เครื่องแต่งกายของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมประจําชาติที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ที่
สามารถยืนยันได้จากผลการประกวดเครื่องแต่งกายประจําชาติของนางงามจักรวาลหลายปี ดังนี้
1) นางสาวแสงเดือน แม้นวงศ์ กับชุดประจําชาตินางละคร ชนะการประกวดชุดแต่งกายประจําชาติ
ยอดเยี่ยม ปี 1969 (พ.ศ.2512) 2) นางสาวภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก นางงามจักรวาลคนที่ 2 ของประเทศ
ไทย ในชุดไทยจักรีสีนํ้าเงินและได้ชนะการประกวดชุดแต่งกายประจําชาติยอดเยี่ยม ปี 1988 (พ.ศ.2531)
3) นางสาวยลดา รองหานาม จากชุดมโนราห์ ชนะการประกวดชุดแต่งกายประจําชาติยอดเยี่ยม ปี 1989
(พ.ศ.2532) 4) นางสาวอรอนงค์ ปัญญาวงศ์ กับชุดประจําชาติไทยประยุกต์ ชนะการประกวดชุดแต่งกาย
ประจําชาติยอดเยี่ยม ปี 1992 (พ.ศ.2535) และ 5) นางสาวชนันภรณ์ รสจันทน์ ชนะการประกวดชุด
แต่งกายประจําชาติยอดเยี่ยม ปี 2005 (พ.ศ.2548) ( board.postjung.com/topic-42175, และ
fwmail.sodazaa.com/1673)
7. วัฒนธรรมการขับกล่อม การขับร้องและการแสดงของไทย (Thai Culture of
Singing and Performances) พระมหากษัตริย์ของไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นคีตกวีที่
ปวงชนชาวไทยและชาวโลกต่างภาคภูมิใจและยกย่องพระองค์ท่านเป็น “อัครศิลปิน” ด้วยพระปรีชา
สามารถในการทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลงและเรียบเรียงเสียงประสานงานเพลงและการดนตรีจน
เป็นที่ประจักษ์ (http://www.thaipost.net/node/16929) พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์
เพลงไทยให้ลูกหลานได้ชื่นชม
7.1 เพลงไทย เป็นเพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย ที่มีลีลาในการขับร้องและบรรเลง
แบบไทย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและแตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ เพลงไทยมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1) เพลงบรรเลงที่มีเฉพาะเสียงดนตรีล้วน ๆ เช่น เพลงโหมโรง และเพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้สําหรับ
ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ 2) เพลงที่มีคําร้อง เป็นเพลงที่ใช้ร้องรับกับเสียงดนตรี เช่น เพลงเถา เพลงตับ
เพลงประกอบการขับเสภา เพลงชั้นเดียว เพลงสองชั้น เพลงสามชั้น เพลงเกร็ด เพลงละคร เพลงเรื่อง